บทความบทนี้ ไม่มีเจตนาทางด้านการเมือง แต่นำเสนอเพื่อชวนให้คิด ให้เข้าใจกับตัวเอง ด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ จิตวิทยา การบริหาร
ข้อแนะนำ ช่วยวางความคิดทางการเมืองลง แล้วค่อยอ่าน เพราะอาจจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึก และความเชื่อของท่าน
ขบคิด ณ วันที่ 27 มิถุนายน 2564
ในช่วงนี้ผมได้ติดตามข่าวเกี่ยวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญของประเทศไทยซึ่งก็ทำให้เรามาฉุกคิดได้ว่าทำไมนะหลายคนในโลกนี้จำนวนมากที่เดียวที่เชื่อว่าระบอบประชาธิปไตยคือระบอบที่ดีที่สุด?
มันเป็นคำถามที่ผมได้คิดแล้วก็อดไม่ได้ที่จะคิดต่อไปเรื่อยๆว่าจริงๆ แล้วประชาธิปไตยเป็นระบบที่ดีที่สุดตามที่เราเชื่อจริงหรือ อะไรคือจุดอ่อน อะไรคือจุดแข็งของระบบประชาธิปไตย?
ด้วยความคิดตรงนี้ผมจึงย้อนกลับไปคิดถึงเรื่องของการปกครองว่าเหตุใดเราจึงต้องมีผู้ปกครองซึ่งตอนหลังอาจจะถูกพัฒนากลายเป็นชนชั้นปกครองและกลุ่มการเมืองในปัจจุบัน ในอดีตกาลมนุษย์ก็คงจะเป็นสังคมขนาดเล็กที่ยังไม่มีรูปแบบอะไรมากมายในการอยู่ร่วมกันอย่างไม่มีกฎกติกาอะไรมากมายสนใจแต่เพียงว่าในแต่ละวันจะใช้ชีวิตอย่างไรให้อยู่รอดปลอดภัยและมีอาหารยังชีพอย่างอุดมสมบูรณ์หรือมีความมั่นคงในชีวิต หากเราได้อ่านหนังสือเรื่อง homo sapiens เราก็จะพบว่ากฎกติกาต่างๆถูกเริ่มกำหนดขึ้นโดยการที่มนุษย์มีจินตนาการแล้วก็กำหนดโลกสมมุติเกิดขึ้นทำให้เรายึดถือกันว่าสิ่งต่างๆที่เราสมมตินั้นเป็นความจริงแท้แม้ว่าเราจะจับต้องไม่ได้เลยก็ตาม กฎเกณฑ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นกฎการอยู่ร่วมกันกฎแห่งบาปบุญคุณโทษกฎหมายกฎการปกครองการละเมิดการใช้ชีวิตร่วมกันทั้งหมดนี้ถ้าเราพิจารณาในฐานะนักชีววิทยาเราจะพบว่ามันไม่มีอยู่จริงแต่มันกลับเป็นจริงเพราะมนุษย์เชื่อในสิ่งที่ตัวเองสมมุติอย่างสุดหัวใจ
นั่นก็หมายความว่าระบบการปกครองทั้งหมดก็คือกฎที่มนุษย์สร้างขึ้นเป็นโลกสมมุติที่มนุษย์เชื่อว่าเราจะต้องยึดถือความจริงแท้ข้อนี้ แต่ถ้าหากเรามองย้อนกลับไปในมุมมองของสิ่งมีชีวิตเผ่าพันธุ์อื่นๆเราก็อาจจะพบว่าเราไม่จำเป็นต้องเชื่อในกฎเกณฑ์ที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นแบบนี้
กลับมาที่ต้นกำเนิดของการปกครองในยุคที่มนุษย์เริ่มมีการรวมตัวกันเป็นสังคมเล็กๆสิ่งที่มนุษย์ต้องการคือการอยู่รอด และมนุษย์มีความสามารถอย่างหนึ่งที่อยู่เหนือกว่าสัตว์ชนิดอื่นคือการให้ความร่วมมือกัน เพื่อทำให้กลุ่มของมนุษย์มีความเข้มแข็งขึ้นแม้ว่ามนุษย์จะไม่มีกล้ามเนื้อหรือความแข็งแรงเทียบเท่ากับสัตว์ชนิดอื่นก็ตามที แต่ด้วยความที่มนุษย์รวมกลุ่มกันนี้เองจึงทำให้มนุษย์สามารถเอาชนะอุปสรรคและความท้าทายของการอยู่รอดแห่งการดำรงเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้อย่างยอดเยี่ยมจนกลายเป็นเผ่าพันธุ์มนุษย์ผู้ยิ่งใหญ่ในปัจจุบัน
นั่นหมายความว่าโดยแท้จริงแล้วผู้ปกครองจึงมีหน้าที่ที่สำคัญที่สุดคือการสร้างความมั่นคงให้กับกลุ่มหรือสังคมของมนุษย์ที่รวมตัวกันอยู่นั่นเอง ในอดีตการที่เราจะยอมรับผู้ปกครองขึ้นมาเป็นคนที่นำพาให้กับกลุ่มเดินไปในทิศทางใดๆ ก็แล้วแต่ยอมขึ้นอยู่กับความสามารถและพละกำลังที่จะช่วยทำให้กลุ่มหรือสังคมผ่านพ้นอุปสรรคและวิกฤตินานาประการได้ สิ่งที่ต้องแลกเปลี่ยนกันระหว่างสังคมกับชนชั้นปกครองคือชนชั้นปกครองได้มอบความมั่นคง ความอยู่ดีกินดี และความปลอดภัยในชีวิตให้กับสังคม ในขณะที่สังคมได้มอบบางสิ่งบางอย่างให้กับชนชั้นปกครองเป็นการตอบแทนเช่น อำนาจ ความร่ำรวย ชื่อเสียงเกียรติยศ ตรงนี้เอกเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนระหว่างกันและกันนั่นหมายความว่า ชนชั้นปกครองมีหน้าที่อย่างหนึ่ง และสังคมก็มีหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้จึงมีการพัฒนาระบบการปกครองแบ่งเป็น 2 ชั้นคือชนชั้นปกครองและชนชั้นผู้ถูกปกครอง ชนชั้นปกครองในสมัยแรกจึงเริ่มต้นด้วยหัวหน้าเผ่า หรือ ผู้นำชุมชน หลังจากนั้นก็ได้มีการพัฒนารูปแบบให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้นเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆเข้ามาเพื่อให้หัวหน้าเผ่าหรือผู้นำชุมชนนี้มีความแตกต่างออกไปจากบุคคลทั่วไปของสังคมหรือของกลุ่ม เวลาผ่านไปสังคมและกลุ่มต่างมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นจำนวนประชากรก็เพิ่มขึ้นความซับซ้อนของการออกแบบระบบจึงมีมากขึ้นตามมา จุดนี้แหละจึงเริ่มมีคำว่าจักรพรรดิ กษัตริย์ และพระราชาเกิดขึ้น การที่จะทำให้คนยอมรับว่าคนกลุ่มนี้มีความพิเศษมากกว่าคนอื่นคือการใส่ความเชื่อความรู้สึกนึกคิดลงไปและไปผูกโยงร่วมกับความคิดทางศาสนาหรือทางลัทธิต่างๆที่แต่ละกลุ่มยอมรับนับถือและคิดว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง (จากโลกที่ตัวเองสมมุติขึ้นมา)
ในขณะที่ชนชั้นปกครองต้องการที่จะรักษาสิทธิพิเศษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจึงได้มีการกำหนดเงื่อนไขต่างๆ และมีการใส่ข้อมูลความเชื่อลงไปยังสังคมให้สังคมยอมรับว่าสิ่งที่ตัวเองมีนั้นสามารถสืบทอดได้ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น สืบทอดทางสายเลือด สืบทอดจากการเลือกตั้ง สืบทอดโดยการคัดเลือกจากสภาขุนนางหรือผู้ปกครองอื่นๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละสังคมนั้นมีกฎเกณฑ์กติกาในการมอบอำนาจของประชาชนหรือสังคมให้กับชนชั้นปกครองอย่างไร
มาถึงตรงนี้ก็เป็นยุคสมัยที่มนุษย์มีการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมที่เกิดซับซ้อนสูงมากเริ่มพัฒนาเป็นอาณาจักรเริ่มพัฒนาเป็นประเทศ มีการใช้ความเชื่อ มีการใช้ตรากฎหมาย มีการใช้จารีตและธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆเข้ามาเป็นเครื่องมือในการกำหนดแนวทางการปฏิบัติและการอยู่ร่วมกันของสังคมมนุษย์ ในขณะที่บางสังคมอย่างเช่นกรีกโบราณ ที่เราเชื่อกันว่าเป็นจุดเริ่มต้นของระบบประชาธิปไตยที่ให้ผู้ชายทุกคนในสังคมสามารถเข้าไปมีอำนาจในการออกสิทธิ์ออกเสียงในสภาได้เพื่อทำการคัดเลือกหรือออกกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ด้วยความที่สังคมมีประชาชนเพิ่มขึ้นและการสื่อสารนั้นมีข้อจำกัดเป็นอย่างมากในอดีตจึงทำให้ทุกคนไม่สามารถเป็นผู้แทนของตัวเองในการออกสิทธิ์ออกเสียงได้ แต่ต้องมอบความไว้วางใจทั้งหมดเอาไว้กับผู้ปกครอง และเชื่อว่าผู้ปกครองนั้นเป็นผู้มีบุญญาบารมีสามารถตัดสินใจได้อย่างถี่ถ้วนและเด็ดขาด คนผู้นี้จึงเรียกว่า กษัตริย์ แล้วตัวกษัตริย์เองก็มีผู้ช่วยเป็นเหล่าขุนนางทั้งหลายที่เป็นผู้ช่วยคิดแก้ไขปัญหาต่างๆของบ้านเมืองที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายแล้วเราก็จะพบว่าเป้าหมายของการเป็นกษัตริย์ที่แท้จริงคือการสร้างความมั่นคงและอุดมสมบูรณ์รวมถึงความผาสุกของประชาชน เราจึงเห็นว่ามีบทสอนมากมายเกี่ยวกับกษัตริย์ว่าต้องทำอะไร เช่นทศพิธราชธรรม หรือแนวทางการปกครองของต่างประเทศ
สรุปตรงนี้คือ ผู้ปกครองมีหน้าที่ที่จะต้องทำให้ประชาชนหรือสังคมนั้นสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความ ปลอดภัย ผาสุข เศรษฐกิจที่ดี การกินดีอยู่ดี ช่วยประชาชนมีหน้าที่ไว้วางใจและมอบสิทธิบางอย่างของตัวเองให้กับชนชั้นปกครองเพื่อให้ชนชั้นปกครองนั้นสามารถทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีที่สุด
แต่อย่างไรก็ตามในอดีตและประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็พบว่าหลายๆครั้งการใช้อำนาจของชนชั้นปกครองนั้นกลับไม่สามารถรักษาสมดุลของการเพิ่มประโยชน์ให้กับตัวเองกับการเพิ่มประโยชน์ให้กับสังคมได้ หมายความว่าเมื่อใดก็ตามที่ชนชั้นปกครองหาประโยชน์ให้กับตัวเองเกินกว่าการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมสังคมก็จะเกิดภาวะตกต่ำ ไม่ว่าทางด้านทางเศรษฐกิจ ปากท้องต่างๆของประชาชน ความปลอดภัยในชีวิต รวมไปถึงการพัฒนาโครงสร้างทางสังคมแนวคิด ถึงตรงนั้นก็ทำให้เกิดการเสื่อมถอยในศรัทธาของชนชั้นปกครอง เราก็จะสามารถพบได้ในประวัติศาสตร์ของการล่มสลายในแต่ละราชวงศ์ทั่วโลก
แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามชนชั้นปกครองสามารถที่จะช่วยทำให้สังคมมีความเจริญรุ่งเรือง มีการกินดีอยู่ดี มีการพัฒนาทางความสุขความคิดและจิตวิญญาณของมนุษย์ให้เพิ่มสูงขึ้น ในยุคนั้นชนชั้นปกครองก็จะได้รับการให้เกียรติได้รับการสรรเสริญ และเชิดชูเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ถึงตรงนั้นระบอบประชาธิปไตยกลับไม่มีใครพูดถึงเลยว่าต้องการเปลี่ยนแปลงเพราะทุกคนกำลังได้รับในสิ่งที่ตัวเองต้องการนั่นเอง
แต่เมื่อใดก็ตามที่ชนชั้นปกครองไม่ว่าจะเป็นระบบไหนที่ไม่สามารถสร้างความมั่งคั่ง ความมั่นคง ความผาสุก และการพัฒนาทางด้านชีวิตจิตใจ จิตวิญญาณ และความคิดของประชาชนได้ เวลานั้นประชาชนโดยทั่วไปก็จะเริ่มถามหาการเปลี่ยนแปลงจริงๆแล้วคืออยากจะเปลี่ยนแปลงผู้นำเพื่อต้องการให้ผู้นำคนใหม่นั้นสามารถที่จะพัฒนาทางสังคม ทางเศรษฐกิจ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของตนเองได้ แล้วจะยิ่งเวลาผ่านไปผู้คนได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้นเรื่อยๆ เกี่ยวกับประวัติศาสตร์เกี่ยวกับรูปแบบแนวคิดในการปกครองจึงคิดว่าระบอบประชาธิปไตยจะเป็นตัวช่วยที่ทำให้ประชาชนสามารถมีการเปลี่ยนแปลงผู้นำการปกครองที่ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคมได้
จากนั้นระบอบประชาธิปไตยก็ได้เริ่มมีการพัฒนาแนวคิดต่างๆ ขึ้นไปอย่างเข้มข้นมากขึ้น ได้เริ่มพัฒนาไปถึงหลักปรัชญาของอำนาจและนำไปสู่การร่างรัฐธรรมนูญ ถึงตรงนี้ชวนให้ผมคิดขึ้นมาว่าแล้วถ้าบอกว่าจะไปไตดีจริงหรือ
เรามาเริ่มคิดตรงนี้ว่าในระบอบประชาธิปไตยคือการเคารพเสียงข้างมากของประชาชน แต่ถ้าว่าถ้าประชาชนไม่มีข้อมูลข่าวสารที่สมบูรณ์เต็มที่ว่าคนใดนั้นเหมาะสมที่จะเป็นผู้ปกครองอย่างแท้จริง หรือมีข้อมูลข่าวสารที่ถูกจงใจให้บิดเบือนว่าคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ที่เหมาะสมในการปกครองอย่างแท้จริงแล้วนั้นเขาก็จะเลือกคู่นี้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองของตัวเอง นั่นหมายความว่าประชาชนก็เอาความเสี่ยงของชีวิตไปฝากเอาไว้กับการเลือก หรือเลือกตั้ง เพียงช่วงเวลาสั้นๆและต้องรอให้ผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งนั้นหมดวาระซึ่งจะใช้เวลาสั้นหรือยาวแตกต่างกันไปตามระบบหรือระเบียบที่กำหนดเอาไว้ในแต่ละสังคม
ระบอบประชาธิปไตย จะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนเรียนรู้ที่จะรับฟังซึ่งกันและกัน ซึ่งต้องอาศัยการปลูกฝังในสังคมอย่างยาวนาน และต้องมีวินัยต่อตนเองและต่อสังคมสูงมากจึงทำให้ระบบนี้สามารถที่จะทำงานได้อย่างเต็มที่ ขณะเดียวกันต้องมีระบบและกลไกของทางด้านการปกครองที่ช่วยให้ประชาชนสามารถทำความเข้าใจกับความสามารถของผู้เสนอตัวเข้ามาเป็นชนชั้นปกครองได้อย่างละเอียดและถี่ถ้วน สามารถสืบประวัติย้อนหลังได้อย่างยาวนานและให้ความสำคัญจริงจังกับความสามารถของบุคคลมากกว่าความพึงพอใจของบุคคล จากนั้นระบบประชาธิปไตยข้อดีคือ ระบบนี้จะช่วยทำให้เปลี่ยนแปลงผู้ปกครองได้เมื่อผู้ปกครองไม่สามารถตอบสนองความต้องการของสังคม และยิ่งไปกว่านั้นคือมีระบบในการตรวจสอบและคานอำนาจอย่างชัดเจนโดยที่ มีระดับการคานอำนาจอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจของตนเองได้อย่างเต็มที่ แต่ต้องรับผิดชอบผลของการตัดสินใจของตนเองได้อย่างเต็มที่จากการถูกสอบทานและคานอำนาจเช่นเดียวกัน เป็นเครื่องมือที่บังคับให้ผู้ปกครองมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมมากที่สุดเป็นหลัก น่าจะพิจารณาให้ลึกลงไปกว่านั้นผู้ปกครองก็ย่อมจะเป็นผู้ที่เสียสละเพราะเมื่อมุ่งเน้นประโยชน์ของสังคมมาก ประโยชน์ส่วนตนก็จะหายไปด้วยเช่นกัน ในประวัติศาสตร์ในหลายประเทศพบว่าผู้ที่เข้ามาเป็นผู้ปกครองประเทศนั้นหลายครั้งกับจะมีจำนวนหนี้สินหรือความมั่งคั่งของตนเองลดลงอย่างเห็นได้ชัดเช่นอดีตประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เพราะเงินตอบแทนไม่เพียงพอต่อการใช้ในกิจการต่างๆของตนเอง ดังนั้นหลายครั้งที่ผู้ปกครองจึงพยายามต้องดึงประโยชน์ที่สามารถแสวงหาได้จากการดำรงตำแหน่งในหน้าที่เข้ากับตัวเองเพื่อให้เป็นการชดเชยกับสิ่งที่ตัวเองต้องทำลงไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการประชาสัมพันธ์ความรู้ความสามารถของตนเองให้สังคมได้รับรู้ กิจกรรมแต่ละประเภทมีต้นทุนทั้งสิ้น ในที่สุดสิ่งนี้ก็ถูกพัฒนาเข้ามาสู่เรื่องของการเล่นการเมือง มีงานวิจัยบอกไว้ชัดเจนว่า นักการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะทำงานจริงๆเพียงแค่ 25 เปอร์เซ็นต์ของระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งทั้งหมด ส่วนอีก 75% ที่เหลือนั้นเอาไว้ใช้สำหรับการหาเสียงเท่านั้นดังนั้นถือว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากรทางด้านเวลาเงินทองอย่างยิ่งที่ประชาชนต้องเสียภาษีและยอมเสียสละเวลาของตนเองให้กับชนชั้นปกครองเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ
นี่ก็นับว่าเป็นข้อเสียของระบอบประชาธิปไตยที่ถูกพัฒนาจะประชาธิปไตยทางตรงเป็นสู่ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทนและนำไปสู่การเล่นการเมืองเพื่อรักษาฐานเสียงและฐานอำนาจของชนชั้นปกครองเอาไว้ให้สามารถกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งในการปกครองได้ ในขณะที่กลุ่มคนอื่นๆที่ต้องการขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองก็มีความพยายามที่จะลดทอนความน่าเชื่อถือของกลุ่มที่ได้เป็นชนชั้นปกครองในปัจจุบัน เพื่อหวังว่าวันหนึ่งตัวเองจะได้สลับขึ้นมาเป็นชนชั้นปกครองบ้างจนกระทั่งมีคำกล่าวว่าอำนาจและตำแหน่งทางการเมืองเปรียบเสมือน “สมบัติผลัดกันชม” นับว่าเป็นเรื่องตลกร้ายทีเดียวเทียบระบอบประชาธิปไตยถูกพัฒนาจากความต้องการขั้นพื้นฐานคือความกินดีอยู่ดีของมนุษย์ไปสู่การสูญเสียอำนาจ และสร้างความเสี่ยงจากการที่เลือกผู้คนไปสู่ชนชั้นปกครองที่มีโอกาสพิจารณาเพียงน้อยนิด
ในทางตรงกันข้าม หากชนชั้นปกครองมาจากการคัดเลือกเลือกสรรหรือการสืบทอดด้วยสายเลือด เรียกอีกแบบหนึ่งว่าชนชั้นกษัตริย์ จักรพรรดิ หรือพระราชา ระบอบการปกครองแบบนี้ ก็อาจจะมีข้อดีคือมีเวลาคิดไต่ตรองจากผู้ที่มีประสบการณ์ทางด้านการปกครองให้มาเป็นผู้สืบทอดอำนาจการปกครองคนต่อไปจนกระทั่งนำไปสู่การขึ้นอำนาจของผู้ที่ถูกคัดเลือก ผู้นี้ก็จะรู้ดีว่าหน้าที่ของเขาต้องทำอะไร แต่ความเสี่ยงก็ตามมาอีกเช่นกันคือเมื่อผู้นี้ได้เข้าสู่อำนาจและมีเทคนิคการสืบทอดอำนาจให้สามารถสืบทอดได้กับพวกของตัวเองที่ได้กำหนดเอาไว้โดยไม่ได้พิจารณาถึงความสามารถและความเหมาะสมทางด้านการสร้างประโยชน์ให้กับสังคมเป็นหลักแล้ว ก็จะทำให้การปกครองนั้นเต็มไปด้วยการสร้างความเสียหายให้กับสังคมเช่นกัน
เหตุการณ์บ่อยครั้งในอดีตที่ผ่านมานั้นพบว่าการปกครองด้วยระบอบกษัตริย์และพระราชาหากอยู่นานวิธีการคิดของผู้ปกครองก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป ความกระตือรือร้นในการสร้างความมั่งคั่งให้กับสังคมก็อาจจะเปลี่ยนแปลงไป แล้วพบว่าได้เตะนัดราชวงศ์ก็จะมียุคที่เจริญรุ่งเรืองในยุคเสื่อมถอยที่เกิดขึ้นซึ่งในแต่ละยุคนั้นจะกินเวลาที่ค่อนข้างนานทำให้ประชาชนในหลายประเทศโดยเฉพาะประเทศที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า สาธารณรัฐ นั่นหมายถึงประเทศที่เคยมีระบอบกษัตริย์และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองให้รัฐนั้นกลายเป็นของสาธารณชน ประเทศเหล่านี้ได้ผ่านความรุ่งเรืองและความทุกข์ยากพี่ใช้เวลานาน ยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส ในยุคของการเปลี่ยนแปลงจากระบอบกษัตริย์ที่เคยรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่ต้องกลับมาตกต่ำลงในสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 เพราะว่ากษัตริย์ได้สร้างความมั่งคั่งให้กับตนเองแต่มีความอดอยากกับประชาชนประชาชนจึงลุกขึ้นมาทำการเปลี่ยนแปลงแล้วเป็นระบอบจักรพรรดิ ในสมัยนั้นก็ได้เลือกนักรบที่คิดว่าตัวเองมีความสามารถอย่างจักรพรรดินโปเลียน ซึ่งจักรพรรดินโปเลียนเองก็ได้มีการถ่ายทอดอำนาจการปกครองของตนเองให้กับลูกหลานของตนและสุดท้ายก็ไม่สามารถที่จะรักษาความมั่งคั่งและการกินดีอยู่ดีของประชาชนเอาไว้ได้ด้วยปัจจัยหลายๆประการจึงกลายเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันโดยมีการเลือกประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจในการปกครองสูงสุดและมีวาระในการปกครองเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกผู้ปกครองคนใหม่ และทบทวนผลงานที่ผ่านมาเป็นการลดความเสี่ยงของการอดอยากที่จะเกิดขึ้นกับสังคมแบบมีวาระ
พอมาถึงตรงนี้เรากลับเห็นว่ามันเป็นแนวคิดแบบทางสามแพร่ง การปกครองแบบกษัตริย์ก็ถือว่ามีข้อดี การปกครองแบบประชาธิปไตยก็ถือว่ามีข้อดี จริงๆแล้วทั้งหมดอยู่ที่ตัวผู้นำเท่านั้นไม่ว่าจะเป็นการปกครองระบอบไหน รวมไปถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีการสืบทอดอำนาจแบบที่เราเข้าใจกันอยู่ในทุกวันนี้ก็เช่นกัน หากผู้นำ สามารถสร้างเศรษฐกิจ สามารถช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเป็นระบบ ทั่วถึง และทำให้ประเทศมีการพัฒนานำไปสู่การได้เปรียบนำไปสู่การมีระเบียบเรียบร้อยในสังคม แล้วทำให้ประชาชนเห็นว่าตัวเองมีอนาคตอย่างไรเข้าใจว่าตัวเองจะต้องทำตัวอย่างไรนั้น ระบบการปกครองไม่มีผลอะไรเลย พอทั้งหมดประชาชนจะรับได้เนื่องจากประชาชนได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานในชีวิต รวมไปถึงประชาชนได้รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรต่อไป มีหลายประเทศที่ไม่เป็นระบบประชาธิปไตยแต่ประชาชนก็มีความสุขและยอมรับได้กับสิ่งที่เกิดขึ้นภายในประเทศของตนเอง เพราะแต่ละประเทศนั้นเขาสามารถแสดงความจริงใจและวิธีการพัฒนาประเทศที่ให้ประชาชนเห็นได้ว่าประชาชนมาก่อน ส่วนการตอบแทนของชนชั้นปกครองนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละประเทศจะยอมรับได้อย่างไร บางประเทศก็มอบความมั่งคั่งและความร่ำรวยให้กับชนชั้นปกครองอย่างมากเพื่อเป็นการตอบแทนว่าประชาชนของตนก็ได้รับความมั่งคั่งและความร่ำรวยเช่นเดียวกัน
วันนี้เราควรจะต้องมาออกแบบวิธีการคัดเลือกผู้นำที่เห็นประชาชนเป็นศูนย์กลางเป็นหลักมากกว่าการที่เราจะมาเลือกระบบ จะเกิดอะไรขึ้นก็แล้วแต่หากประชาชนที่เป็นรากฐานที่สุดของประเทศไม่สามารถที่จะสร้างความมั่งคั่งให้กับตนเอง หรือเข้าสู่ภาวะอดอยากปากแห้ง ข้าวยากหมากแพง วันนั้นกฎหมายและระบบต่างๆ จะถูกออกแบบไว้ดีขนาดไหนก็แล้วแต่มันไม่มีประโยชน์อะไรเลย ตรงนี้ต่างหากล่ะที่เป็นเรื่องที่สำคัญที่เราต้องเข้าใจ
ในฐานะประชาชนคนหนึ่งรบกวนที่จะมีสิทธิ์ในการเลือกใช้ชีวิตโดยมอบความไว้วางใจให้ผู้ปกครองที่มีความสามารถที่เหมาะสมกับสถานการณ์แต่ละยุคแต่ละสมัย และมีระบบที่จะสามารถทำให้ผู้นำนั้นเปลี่ยนแปลงได้อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงตัวเองหรือเปลี่ยนแปลงผู้นำให้เข้ากับสถานการณ์ต่างๆได้เช่นเดียวกัน
ถึงตรงนี้ก็สรุปได้ว่าระบอบประชาธิปไตยก็ไม่ใช่ระบอบที่ดีที่สุด ระบบอื่นๆ ก็มีจุดอ่อนเช่นเดียวกัน
และที่เราคิดว่าระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบที่ดีที่สุดก็เพราะว่า เราเชื่อว่าเราสามารถเลือกผู้นำคนใหม่ได้ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้นำสามารถปรับตัวและจัดการแต่ละสถานการณ์ของประเทศที่เกิดขึ้นได้อย่างดีที่สุด
ขอบคุณที่ติดตามอ่านถึงตรงนี้ และหวังว่าเราจะใช้สติในการคิดพิจารณาและการดำเนินชีวิต และหวังลึกไปกว่านั้นอยากให้ผู้นำเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตลอดกาล
ดร. นารา กิตติเมธีกุล