ตั้งแต่ปี 1990 เป็นต้นมา อัตราการเกิดของประชากรในหลาย ๆ ประเทศมีตัวเลขใกล้เคียงกับ 0% รวมไปถึงประเทศไทยด้วย เหตุการณืนี้เริ่มมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความไมพร้อมทางการเงิน วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง ไม่ชอบเด็ก ฯลฯ
สิ่งที่จะเกิดปัญหาอย่างใหญ่หลวงในอนาคตคือ ใครจะเป็นคนดูแลคนแก่ในอีก 30 ปีข้างหน้า???
คำถามนี้เกิดจากการที่มาร้อยเรียงเหตุการณ์ว่า ในปัจจุบัน ประชากรของไทยมีอายุยืนขึ้น แต่งงานช้าลง มีลูกช้าลง เหตุการณ์เหล่านี้ แสดงให้เห็นว่า จังหวะของชีวิตมนุษย์ถูกถ่างออกให้กว้างขึ้น หมายความว่า มนุษย์ต้องการบริโภคมากขึ้น!!
ประเด็นที่สำคัญคือ การเกษียณอายุยังคงเป็นอายุเท่าเดิม 55-60 ปี นั้นแสดงถึงว่า เมื่อหลังจากที่เกษียณแล้ว คนเราจะไม่มีรายได้อีกประมาณ 20 ปี
มาดูเรื่องการหารายได้ในปัจจุบัน เดี๋ยวนี้คนเรานิยมเรียนหนังสือ เรียนเยอะ ๆ จะได้มีรายได้เยอะ ๆ (ไม่รู้จริงหรือเปล่า) อย่างน้อยก็เรียนปริญญาตรีจบอายุ 22 หรือถ้าต่อเลยก็เป็นปริญญาโท จบอายุ 25 เริ่มทำงานถึงอายุ 60 ปี แสดงว่า คนเรามีเวลาการทำงาน 40 ปี ใน 40 ปี นี้จะต้องหารายได้เพื่อการยังชีพของตนเอง ครอบครัว พ่อแม่ที่เกษียณแล้ว
ทีนี้ลองมาลำดับเหตุการณ์กัน ถ้าชายคนหนึ่งเกิดมาตอนที่ พ่อแม่อายุ 30 ปี ลูกคนเดียว ต้องเรียนถึงอายุ 22 ปี แสดงว่าพ่อแม่ต้องรับภาระ 22 ปี หลังจากนั้นทำงาน พ่อแม่อายุ 52 เหลือเวลา 8 ปีในการทำงาน เมื่อพ่อแม่เกษียณ ลูกก็ 30 พอดี ต่อมาอีก 5 ปี (อายุ 35 ปี) ชายคนนี้แต่งงานกับหญิงอีกคนหนึ่ง อายุ 30 ปี (ลูกคนเดียวเหมือนกันมีพ่อแม่อายุเท่ากัน) เท่ากับว่า ชาย-หญิงคู่มีครอบครัวใหญ่คือ พ่อแม่ผู้ชายอายุ 65 ปี พ่อแม่ผู้หญิง อายุ 60 ปี
1 ปีจากนั้น มีลูก 1 คน ตอนนี้นับสมาชิกได้ 7 คน มีคนที่ยังทำงานได้ 2 คน ภาวะพึ่งพิง 5 คน
3 ปีต่อมา ลูกเข้าโรงเรียน ค่าใช้จ่ายเริ่มเยอะขึ้น ชายคนนี้ อายุ 39 ปี หญิง 34 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 69 ปี พ่อแม่ผู้หญิง 64 ปี สรุป
1 ปี ต่อมา พ่อแม่ผู้ชายเริ่มเจ็บป่วย เข้าออกโรงพยาบาลอยู่เรื่อย ๆ
5 ปีต่อมา ผู้ชายอายุ 45 ผู้หญิง 40 ปี ลูก 10 ปี พ่อแม่ผู้ชาย 75 (ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องจ้างคนมาดูแล) พ่อแม่ผู้หญิง 70 ปี (เริ่มป่วยเข้าโรงพยาบาล)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน หาเลี้ยง 7 คน รวมตัวเอง และผู้ดูแลพ่อแม่ด้วย
อีก 5 ปี พ่แม่ผู้ชายเสียชีวิต อายุ 80 ปี พ่อแม่ผู้หญิงป่วย (ดูแลตัวเองไม่ได้)
สรุปภาระ ทำงาน 2 คน เลี้ยงดู 5 คน
ตอนนี้ผู้ชายอายุ 50 ผู้หญิงอายุ 45 ลูกอายุ 15 ปี พ่อแม่ผู้ชาย — พ่อแม่ผู้หญิง 75 ปี+คนดูแล
อีก 5 ปี พ่อแม่ผู้หญิงเสียชีวิต
อีก 2 ปี ลูกเรียนจบปริญญาตรีและเรียนต่อ
อีก 2 ปี เรียนจบปริญญาโท
ผู้ชายอายุ 59 ปี ผู้หญิง อายุ 54 ปี ลูก 24 ปี เริ่มทำงาน
สรุปทำงาน 3 คน เลี้ยงดู 3 คน (อีกปีเดียวผู้ชายเกษียณ)
แล้วกว่าลูกจะแต่งงาน…
ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ รายได้ที่หาได้ในปัจจุบัน เพียงพอต่อการเลี้ยงดูทุกคนในครอบครัวหรือไม่ อัตราพึ่งพิงสูงสุด 7/2 หมายความว่า 1 คนต้องเลี้ยงดู 3.5 คน ดังนั้น การจะหารายได้ต้องมากกว่ารายจ่าย 3.5 เท่าขั้นไปถึงจะมีเงินเก็บได้ ถ้าคนเรามีค่าใช้จ่ายเดือนละ 10,000 บาทต่อคน จะต้องมีรายได้ 35,000 ต่อเดือนขึ้นไป ถึงจะเริ่มมีเงินเก็บ และสะสมความมั่นคั่งให้กับชีวิตได้
ในสมัยก่อน คนเรามีลูกเยอะ ทำให้อัตราพึ่งพิงมีน้อยกว่าปัจจุบันมากทำให้ระบบในสังคมยังสามารถอยู่ได้ แต่ในอนาคต คนที่อายุ 30 วันนี้กำลังจะเจอสถานการณ์แบบนี้ในอนาคต
วิธีการแก้ไข วิธีแรกคือการลดภาระพึ่งพิง หมายถึง การทำงานหลังเกษียณให้เพียงพอต่อการยังชีพ และการหารายได้เสริมระหว่างเรียน นอกจากนั้น คนทำงานต้องรู้จักการออมเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงให้กับตนเองในอนาคต นอกจากนั้น คนที่ทำงานจะต้องหารายได้ให้กับตอนเองมากกว่าที่บริโภคอย่างน้อย 3 เท่า
ในบ้างประเทศรัฐบาลบังคับการออมของตนเองผ่านระบบภาษี คือ รัฐบาลเก็บภาษี 60% ของรายได้สุทธิ แต่เมื่อเกษียณ์อายุ 65 แล้ว (เกษียณอายุแก่กว่าของไทยด้วย) จะมีเงินเดือนจ่ายให้เพื่อยังชีพทุกเดือน และเข้ารับการรักษาพยาบาลได้ในวงเงินที่กำหนดต่อปี อีกทั้งยังมีบ้านพักสำหรับคนชราที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ซึ่งจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหานี้ในระยะยาว
ประเทศไทยจะเป็นแบบนั้นได้หรือไม่???
ดร. นารา กิตติเมธีกุล