Our Media

บทความที่สร้างสรรจากประสบการณ์ โดยทีมวิทยากรและคณะที่ปรึกษาของเรา

เศรษฐกิจต้นทุนต่ำ

การต่อสู่ระหว่างเศรษฐกิจต้นทุนต่ำกับ เศรษฐกิจคุณภาพสูง จากปรากฏการณ์ในสงครามการค้าระหว่างประเทศที่สินค้าจีนได้มีการบุกหนักไปยังประเทศต่างๆในหลากหลายช่องทางโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปแบบของ e-commerce ผ่านทาง Application ชนิดต่างๆจนทำให้ยักษ์ใหญ่ E-commerce ของอเมริกายังต้องสั่นสะเทือน เหตุผลหลักๆเลยที่ประเทศจีนสามารถที่จะทำการผลิตสินค้าให้มีราคาถูกได้เพราะการบริหารต้นทุนซึ่งมีการส่งเสริมมาตั้งแต่นโยบายและการลงทุนของภาครัฐจนถึงการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตของภาคเอกชน ตั้งแต่ระบบพื้นฐานที่แข็งแกร่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องของระบบขนส่งถนนท่าเรือมีการสร้างยุทธศาสตร์เกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งเอาไว้อย่างต่อเนื่องและมีความชัดเจนถึงเป้าหมายของการสร้างยุทธศาสตร์นั้น ประเทศจีนยังเป็นประเทศที่มีแรงงานขนาดใหญ่จนกระทั่งทำให้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตจนถึงจุดต่ำสุดของต้นทุนหรือเรียกว่าการประหยัดต่อขนาดได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ขณะเดียวกันเองยังมีการทำวิจัยและการพัฒนานวัตกรรมต่างๆที่ทำให้สามารถที่จะผลิตสินค้าได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งมีการวิจัยทางด้านอุตสาหกรรมและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่สนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนั้นแล้วประเทศจีนเคยเป็นประเทศที่ได้ชื่อว่าเป็นสินค้าด้อยคุณภาพเน้นการผลิตให้ได้จำนวนมากๆซึ่งนั่นเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการผลิตในระดับมหาศาลและต้นทุนที่ต่ำอย่างน่าเหลือเชื่อและส่งออกไปทั่วโลก ระบบเศรษฐกิจแบบนี้ถ้าจะกล่าวอีกชื่อหนึ่งคงเรียกได้ไม่ยากว่า ระบบเศรษฐกิจต้นทุนต่ำหรือ Low-cost economy

ซึ่งวิธีการคิดในระบบเศรษฐกิจแบบนี้จะเป็นวิธีการคิดที่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดกับระบบเศรษฐกิจจากประเทศตะวันตกและญี่ปุ่นเพราะประเทศเหล่านี้จะเน้นถึงการสร้างสินค้าที่มีคุณภาพมีราคาสูงและสร้างมูลค่าเพิ่มจนทำให้สินค้าหลายๆชนิดมีราคาที่สูงมากและพยายามที่จะสร้างแบรนด์เพื่อให้สร้างความจงรักภักดีของลูกค้าที่มีต่อแบรนด์นั้นๆ ซึ่งเราสามารถเรียกได้ว่า High-Quality economy

แต่ในขณะที่สินค้าจากประเทศจีนได้เดินทางไปถึง ประเทศต่างๆทั่วโลกผู้บริโภคกลับพบว่าสินค้าหลายชนิดไม่ได้จำเป็นที่จะต้องซื้อในราคาแพงและมีคุณภาพสูงเนื่องจากมีต้นทุนในการเปลี่ยนสินค้าไม่สูงมากนัก จึงเห็นว่าการที่สินค้าราคาถูกซื้อง่ายใช้ง่ายเบื่อก็ทิ้งไปเป็นทางเลือกที่ดีที่จะประหยัดเงินในกระเป๋าและสอดคล้องกับยุคที่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงมากทำให้หลายคนยอมลดระดับคุณภาพของสินค้าไปซื้อสินค้าราคาถูกได้

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างอะไรกันกับประเทศต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจที่เป็น SME เนื่องจากประเทศไทยได้ใช้เทคโนโลยีในการผลิตจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ประเทศไทยไม่ใช่ผู้ผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่จะสามารถพัฒนาขีดความสามารถของตัวเองได้จะเป็นแต่การนำเข้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรมต่างๆประเทศมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสินค้าที่ตัวเองต้องการผลิตและส่งออกไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก ในตลอด 20 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยอาศัยความได้เปรียบจากการที่มีแรงงานในราคาที่ยังไม่สูงมากและมีคุณภาพของฝีมือแรงงานที่ค่อนข้างดี

แต่เมื่อสินค้าจากจีนที่มีราคาถูกมากถูกกว่าสินค้าจากประเทศไทยไม่น้อยกว่า 3 เท่าและฝีมือแรงงานของประเทศจีนก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเหตุให้ SME ไม่สามารถปรับตัวได้ทันแล้วหันกลับไปนำเข้าสินค้าจากประเทศจีนมาจำหน่ายแต่ประเทศไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ว่าฝันร้ายก็มาถึงเมื่อประเทศจีนกลับเปิดการค้าโดยตรงผ่านระบบ e-commerce และให้สินค้าวิ่งตรงจากโรงงานสู่มือผู้บริโภคโดยที่ไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางในประเทศไทยนั่นหมายความว่าสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจำนวนมากโดยเฉพาะธุรกิจประเภทซื้อมาขายไปโดนคู่แข่งกับยักษ์ใหญ่ทางด้าน e-commerce จากประเทศจีนทันที

แล้วเราจะทำอย่างไร แน่นอนที่สุดลูกค้าย่อมมีหลายประเภทลูกค้าประเภทที่สนใจเรื่องราคาเป็นหลักก็ย่อมพร้อมที่จะรับความเสี่ยงกับสินค้าที่มีคุณภาพต่ำและพร้อมที่จะซื้อใหม่ได้อยู่ตลอดเวลาสินค้าประเภทนี้ก็จะเป็นสินค้าที่ไม่เน้นความคงทนหรือสินค้าที่ไม่เน้นคุณภาพสูงมากเช่น เสื้อผ้า เครื่องเขียน อุปกรณ์เบ็ดเตล็ดทั่วไป จะสังเกตได้ว่าสินค้าพวกนี้จะอยู่ในร้าน 20 บาทอยู่ในทุกหัวมุมถนนของประเทศไทย
ส่วนลูกค้าอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังเน้นเรื่องคุณภาพ สินค้าเหล่านี้จะเป็นสินค้าที่ต้องนำไปใช้งานต่อหรือสินค้าระดับมืออาชีพที่ต้องอาศัยการมีคุณภาพของเครื่องหมายเครื่องมือหรือของวัตถุดิบหรือของเครื่องใช้ต่างๆเพื่อให้งานออกมาตามที่ต้องการ ดังนั้นธุรกิจ SME ไทยจึงต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าของตนเองเสียก่อนอย่าพยายามไปแข่งในเกมที่เราไม่สามารถสู้ได้ หากสินค้าจากประเทศไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพก็ต้องชัดเจนกับกลุ่มลูกค้าว่ากลุ่มลูกค้าใดที่ต้องการคุณภาพของสินค้าเพื่อเอาไปใช้งานหรือสร้างประโยชน์ มากกว่าการขายสินค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้าอีกแล้ว

ในทางตรงกันข้ามหากลูกค้าไม่ได้สนใจเรื่องคุณภาพมากนักและสนใจเรื่องของราคานั่นหมายความว่าสินค้าจากจีนย่อมได้เปรียบสินค้าที่ผลิตในประเทศไทยอยู่แล้วเราจึงมีหน้าที่ในการที่จะช่วยกันพัฒนาเทคนิคการผลิตเพื่อทำให้เกิดการลดต้นทุนรวมไปถึงการขยายขนาดของการผลิตให้มีความคุ้มค่าในการผลิตมากยิ่งขึ้นเป็นการหาจุดแข็งบางอย่างเพื่อสามารถที่จะตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ให้ได้มากที่สุด

ยิ่งไปกว่านั้นการผลิตสินค้าของประเทศไทยจำเป็นที่จะต้องมองถึงประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก จะต้องไม่ผลิตด้วยความเคยชินหรือผลิตด้วยกรอบแนวคิดเดิมๆ ผู้ผลิตต้องมีความพร้อมและศึกษาถึง Pain Point ของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอเพื่อสามารถที่จะประยุกต์ และประดิษฐ์ คุณลักษณะของสินค้าให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่เน้นแต่สินค้าที่มีแต่รูปลักษณ์สวยงามหรือการดีไซน์เท่านั้น

สงครามการค้าในครั้งนี้ยังคงต้องเดิมพันกันอีกยาวไกลจนกว่าจะมีธุรกิจใดที่ไม่สามารถทนต่อแรงกดดันในการแข่งขันได้ล้มหายตายจากออกจากกัน เวลานั้นก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวใหม่ของผู้ผลิตรายใหม่ๆเข้ามาเรื่อยๆแต่หวังว่ายังคงมีพื้นที่ให้กับผู้ผลิตและ SME ของประเทศไทยอยู่ในเวทีโลก

ทั้งนี้ก็คงต้องฝากความหวังเอาไว้ลึกๆกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยชะลอการเข้ามาของสินค้าจากประเทศจีนที่อยู่ในระบบของ ระบบเศรษฐกิจต้นทุนต่ำ และส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิตของประเทศไทยให้สามารถลดต้นทุนได้อย่างเป็นระบบ มีขนาดอย่างเป็นนัยยะสำคัญในระดับประเทศ รวมถึงส่งเสริมวิธีการคิดของอุตสาหกรรมให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วปรับได้เปลี่ยนได้อยู่ตลอดเวลา ไม่ยึดติดต่อความสำเร็จในอดีตที่เคยมีมาและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเองให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า หรือเรียกได้ว่าสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าได้อยู่ตลอดเวลาในทุกๆวัน

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร

กระบวนการการจัดการข้อมูลขององค์กร (Organizational Data Management Process) การเปลี่ยนแปลงทางสภาพสังคมเศรษฐกิจ ของมนุษย์ในช่วงยุคอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้นมา ทำให้สังคมของมนุษย์มีความสลับซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นจนองค์กรต่างๆที่อยู่ภายใต้สังคมต้องมีการปรับตัวโดยการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในการดำเนินการขององค์กรหรือการแก้ปัญหา ในขณะเดียวกันข้อมูลต่างๆก็ถูกสร้างขึ้นมาเป็นจำนวนมากโดยการใช้เทคโนโลยีหรือมีรูปแบบวิธีการวัดข้อมูลต่างๆให้อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น จึงทำให้องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพยายามที่จะจัดการกับข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำหรือช่วงชิงความได้เปรียบจากการมีข้อมูล

แต่อย่างไรก็ตามการจัดการข้อมูลจำเป็นต้องอาศัยผู้ที่มีทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้นมาดำเนินการจัดการข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลสามารถระบุถึงความจริงที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ ซึ่งวิธีการจัดการข้อมูลนั้นอยู่ในรูปแบบของกระบวนการตั้งแต่การวัดข้อมูลจนไปถึงการนำเสนอข้อมูล รวมทั้งหมด 4 ขั้นตอน

  1. การวัดและจัดเก็บข้อมูล
  2. การจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล
  3. การแปลความหมายข้อมูล
  4. การนำเสนอข้อมูลและสิ่งที่ได้จากข้อมูล

การวัดและจัดเก็บข้อมูล

โดยธรรมชาติแล้วข้อมูลที่อยู่ในองค์กรไม่ว่าจะเป็นภาครัฐเอกชนหรือธุรกิจต่างๆจะเผชิญหน้ากับข้อมูลที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและข้อมูลเกือบทั้งหมดไม่ได้เกิดขึ้นในรูปแบบของตัวเลขเพียงแต่ว่าองค์กรจะต้องเลือกเก็บข้อมูลที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่นข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อมูลความรู้สึกที่มีต่อตราสินค้า หรือข้อมูลความเชื่อที่มีต่อการโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นจากองค์กร องค์กรไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลทุกชนิดที่เกิดขึ้นในรอบๆองค์กรได้หากแต่องค์กรจะต้องเรียนรู้ในการระบุปัญหาที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจและระบุว่าข้อมูลนั้นคือข้อมูลใดมีลักษณะของข้อมูลเป็นรูปแบบใด วิธีการจัดเก็บจะสามารถทำได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ใหญ่ให้กับผู้ที่ดำเนินการในการจัดการข้อมูลที่จะต้องระบุให้ชัดเจนถึงรูปแบบลักษณะและตัวแปรที่กำหนดข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลที่ถูกต้องต่อการแก้ปัญหาในแต่ละครั้ง

ดังนั้นกระบวนการการวัดและจัดเก็บข้อมูลจึงต้องอาศัยทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบริบทของปัญหาพร้อมทั้งระบุได้ว่าข้อมูลอะไรที่องค์กรจะต้องจัดเก็บ โดยการใช้เครื่องมืออะไรในการจัดเก็บรวมถึงการออกแบบนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลเพื่อให้ข้อมูลนั้นมีความแม่นยำและปลอดภัยที่สุด

การจัดเก็บข้อมูลถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการข้อมูลที่สำคัญเพราะถ้ามีการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่เรียบร้อย เป็นระบบ ถูกต้อง และมีความต่อเนื่อง จัดส่งผลต่อไปยังขั้นตอนอื่นๆของขบวนการจัดการข้อมูลไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการวิเคราะห์รวมไปถึงโอกาสที่จะแปลความหมายของข้อมูลได้ผิดพลาด อันเป็นการนำไปสู่การตัดสินใจหรือการออกนโยบายที่ผิดพลาดขององค์กร

การจัดเรียงและการวิเคราะห์ข้อมูล

หลังจากที่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลที่ได้ระบุเอาไว้ในขั้นตอนแรกแล้วข้อมูลเหล่านี้จะต้องถูกนำมาแปรสภาพจากข้อมูลดิบสู่สารสนเทศเพื่อให้ข้อมูลสามารถบ่งบอกถึงเหตุการณ์ ด้วยเทคนิคต่างๆไม่ว่าจะเป็นเทคนิคทางสถิติเทคนิคทางคณิตศาสตร์ หรือเทคนิควิทยาศาสตร์ข้อมูล เทคนิคต่างๆจะเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติและรูปแบบของข้อมูลซึ่งนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล นักสถิติ ได้คิดคนขึ้นเพื่อให้ข้อมูลเหล่านั้นถูกจัดการได้อย่างถูกต้องและมีความแม่นยำที่สุดให้สามารถตอบถึงปัญหาเฉพาะจุด จับข้อมูลที่เก็บมาได้ การวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่นักจัดการข้อมูลจะต้องเลือกใช้เทคนิคและวิธีการต่างๆให้ได้คำตอบที่ต้องการให้สามารถตอบสนองต่อความหลากหลายของข้อมูลในรูปแบบและจำนวนได้ ยิ่งไปกว่านั้นการวิเคราะห์ข้อมูลยังอาจใช้เครื่องมือที่มีความสลับซับซ้อนเช่นคอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถสูงหรือรูปแบบโปรแกรมใหม่ๆ ตลอดจนการใช้ปัญญาประดิษฐ์ที่มาช่วยในการประมวลผล

การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็นรูปแบบใหญ่ๆได้ดังนี้คือ การจัดเรียงข้อมูล การเปรียบเทียบข้อมูล และการพยากรณ์จากข้อมูล

การจัดเรียงข้อมูลเป็นการนำข้อมูลมาเรียงร้อยในเงื่อนไขที่ได้กำหนดไว้เพื่อให้สะดวกต่อการพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่เกิดขึ้นรวมไปถึงการจัดเรียงข้อมูลช่วยทำให้ข้อมูลมีความเป็นระเบียบทำให้สามารถสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติของข้อมูลที่เกิดขึ้นทั้งจากความผิดปกติในเหตุการณ์หรือความผิดปกติของข้อมูลเอง

การเปรียบเทียบข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ที่มีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการเปรียบเทียบค่ากลางของข้อมูล การเปรียบเทียบความเข้ากันได้หรือการจัดกลุ่มข้อมูล การเปรียบเทียบขนาด การเปรียบเทียบรูปแบบการเคลื่อนไหว สิ่งต่างๆเหล่านี้จะเป็นต้องอาศัยการคำนวณด้วยเครื่องมือและเทคนิคต่างๆเพื่อให้ยืนยันว่าข้อมูลที่มีความหลากหลายนั้นมีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มหรือแต่ละจุดที่ทำการเปรียบเทียบจริงหรือไม่ และยังรวมไปถึงการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูล ซึ่งข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปแบบของภาคตัดขวางหรือเป็นแบบอนุกรมเวลาก็ได้ดังนั้นการวิเคราะห์ข้อมูลจึงต้องอาศัยความรู้และเทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์เข้ามาประกอบกับทักษะในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆทางสถิติและคณิตศาสตร์ให้เหมาะสมกับข้อมูลที่เกิดขึ้นนอกจากนั้นยังต้องเรียนรู้ในการประยุกต์ทฤษฎีทางสถิติและคณิตศาสตร์ต่างๆเพื่อใช้ในการตอบโจทย์ปัญหาทางการตัดสินใจขององค์กรได้

ในขั้นสุดท้ายของการวิเคราะห์ข้อมูลคือการพยากรณ์ข้อมูลเป็นการใช้ข้อมูลในอดีตเพื่อที่จะพยายามบอกว่าความน่าจะเป็นที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไปหรือในอนาคตจะเป็นอย่างไรโดยอาศัยรูปแบบการทำซ้ำของข้อมูลซึ่งจะอยู่ในวิธีการของการสร้างสมการ หรือการใช้ปัญญาประดิษฐ์ก็ได้

การแปลความหมายข้อมูล

หลังจากที่ข้อมูลได้ถูกวิเคราะห์และได้ค่าการวิเคราะห์ต่างๆออกมาแล้วนักการจัดการข้อมูลจะต้องนำค่าเหล่านั้นมาเรียงร้อยกันเพื่ออธิบายว่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆนั้นเกิดอะไรขึ้นพร้อมทั้งมีเหตุผลในการรองรับเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทหรือปรากฏการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ได้มา ในการแปลความหมายข้อมูลจึงต้องอาศัยประสบการณ์และหลักการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลต่างๆเพื่อให้สามารถอธิบายสิ่งที่อยู่เบื้องหลังและเป็นข้อความจริงได้มากที่สุดรวมถึงสามารถที่จะอธิบายในมิติต่างๆของบริบทหรือเหตุการณ์นั้นๆ พูดที่สามารถแปลความหมายข้อมูลได้ดีจะสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปสู่การสร้างวิธีการแก้ปัญหาหรือแนวทางการตัดสินใจที่มีความหลากหลายและสร้างสรรค์ได้มากยิ่งขึ้น

การแปลความหมายข้อมูลจึงมีความเป็นศิลปะที่อยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์และต้องอาศัยความรู้ในการพิสูจน์ความจริงว่าสิ่งที่สร้างขึ้นมาในสมมติฐานข้อมูลสามารถอธิบายได้อย่างไรและมีอะไรที่เป็นการยืนยันถึงความจริงที่เกี่ยวข้องในบริบทตรงนั้น

การนำเสนอข้อมูลและสิ่งที่ได้จากข้อมูล

หลังจากที่นักการจัดการข้อมูลได้ทำการจัดการข้อมูลวิเคราะห์และแปลความหมายต่างๆแล้วข้อมูลเหล่านี้จะเกิดประโยชน์ก็ต่อเมื่อนำข้อมูลไปสร้างเป็นแนวทางในการปฏิบัติ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมไปถึงการชักจูงใจให้ผู้ที่เกี่ยวข้องนั้นสามารถที่จะดำเนินการภายใต้ข้อบ่งชี้ของข้อมูลเดียวกัน

การนำเสนอข้อมูลจึงเป็นการสร้างทักษะที่จะเลือกข้อมูลที่จำเป็นและสำคัญเพื่อให้ผู้ที่ได้รับฟังนั้นปฏิบัติตามตามวัตถุประสงค์ของผู้นำเสนอเช่น การทำให้เข้าใจ การทำให้เชื่อและคล้อยตาม ตลอดจนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหา ดังนั้นการนำเสนอข้อมูลเป็นการทั้งย่อและย่อยข้อมูลที่เกิดขึ้นกับจำนวนมากไปสู่จุดที่สามารถเข้าใจได้โดยง่ายและให้ผู้ที่ได้รับฟังข้อมูลนั้นเชื่อพร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่างทางด้านพฤติกรรมของผู้รับฟังข้อมูล ซึ่งจะต้องอาศัยเทคนิคการนำเสนอ อย่างมีตรรกะทางความคิด ที่น่าสนใจจนเกิดการกระตุ้นถึงความต้องการหรือพฤติกรรมของคนอื่นได้

การนำไปใช้สำหรับองค์กร

ในการจัดการข้อมูลหากเป็นองค์กรขนาดเล็กไม่มีตัวเลือกหรือผู้มอบหมายงานได้มากนัก ทุกคนในองค์กรจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลหรือมีคนที่รับผิดชอบทางด้านข้อมูลเช่นเจ้าของหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจเป็นผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้ผู้ที่ตัดสินใจนั้นสามารถใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่ในกรณีขององค์กรขนาดใหญ่เป็นองค์กรที่มีทรัพยากรบุคคลที่สามารถมอบหมายงานและให้การทำงานที่เกี่ยวกับข้อมูลสามารถกระจายไปยังหลายภาคส่วนได้ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจึงไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเพียงบุคคลเดียวและรับผิดชอบทุกอย่างเกี่ยวกับข้อมูลขึ้นอยู่กับวิธีการวางแนวทางในการปฏิบัติและการต่อนโยบายที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล รวมไปถึงการมอบหมายงานที่อยู่ในคำอธิบายงานหรือคำสั่งจากผู้บังคับบัญชา แต่ทั้งนี้ผู้บริหารองค์กรต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลและมีเกณฑ์ชี้วัดที่ถูกต้องว่าข้อมูลนั้นได้ทำการจัดการได้อย่างถูกต้องตามที่ได้กำหนดเอาไว้หรือไม่

การมอบหมายหน้าที่ในการจัดการข้อมูล

ในกระบวนการของการวัดและการจัดเก็บข้อมูลสามารถมอบหมายไปให้ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่หน้างานหรือผู้ที่พบเจอกับข้อมูลหรือแหล่งกำเนิดของข้อมูลเป็นผู้จัดเก็บ องค์กรต้องตระหนักถึงว่าการจัดเก็บข้อมูลนั้นจะต้องไม่เป็นภาระที่เกินกว่าจำเป็นรวมไปถึงเป็นการสร้างความยุ่งยากในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้วย หากเป็นไปได้องค์กรจะต้องออกแบบเครื่องมือในการวัดและการจัดเก็บข้อมูลที่ในรูปแบบของออโตเมติกโดยการใช้เครื่องจักรหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการวัดข้อมูลและนำไปสู่การบันทึกในระบบที่เป็นอัตโนมัติ โดยที่ผู้ที่อยู่หน้างานเป็นผู้ตรวจสอบว่าข้อมูลนั้นยังถูกจัดเก็บอย่างสม่ำเสมอเป็นไปตามปกติหรือไม่ คอยตรวจสอบว่ามีสิ่งบ่งชี้ถึงความผิดปกติของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากข้อมูลหรือไม่เช่นมีค่าบางค่าที่สูงหรือต่ำผิดปกติซึ่งผู้วัดและจัดเก็บข้อมูลจะต้องเป็นผู้ที่รายงานความผิดปกตินั้นให้กับผู้ที่รับผิดชอบได้ทราบตามนโยบายที่กำหนดหรือโดยเร็วที่สุด

การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการมอบหมายงานขององค์กรการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ได้จำเป็นจะต้องอยู่แต่เฉพาะฝ่ายงานที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลเท่านั้นแต่หากว่าองค์กรสามารถที่จะเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้นเพื่อทำการตรวจสอบหรือประเมินลักษณะการปฏิบัติงานตามปกติ ก็จะสามารถช่วยให้องค์กรมีผู้เฝ้าระวังผ่านทางข้อมูลที่เกิดขึ้นขององค์กรได้จำนวนมากและสามารถช่วยให้มีการปรับตัวหรือตัดสินใจในการแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

ในขณะที่บุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลโดยตรงบุคลากรเหล่านี้ก็จะเป็นการสร้างแนวคิดใหม่ๆหรือนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากข้อมูลที่องค์กรมีเพื่อให้เกิดแนวทางของการออกแบบกลยุทธ์หรือวิธีการแก้ปัญหา หรือนโยบายใหม่ๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้สามารถอธิบายถึงเหตุการณ์ที่องค์กรสนใจหรือปัญหาได้

การแปลความหมายของข้อมูล

เป็นทักษะหนึ่งที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ข้อมูลทุกคนจำเป็นจะต้องมีเพื่อให้รู้ว่าข้อมูลเหล่านั้นกำลังอธิบายถึงเรื่องอะไร แต่รูปแบบรายการแปลความหมายของข้อมูลจะมีทั้งการแปลความหมายที่มีความซับซ้อนสูงหรือเป็นการแปลความหมายขั้นพื้นฐานขึ้นอยู่กับว่าองค์กรได้มอบหมายให้ใครปฏิบัติหน้าที่ได้มากน้อยขนาดไหน ผ่านทางนโยบายขององค์กรที่จะต้องทำการอธิบายและเสริมสร้างทักษะให้กับผู้ปฏิบัติงานภายในองค์กรได้เข้าใจและสามารถทำได้อยู่ในรูปแบบหรือมาตรฐานเดียวกัน

การนำเสนอข้อมูลและสิ่งที่ได้จากข้อมูล

สิ่งนี้ถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญของผู้นำเสนอไม่ว่าจะเป็นนักวิเคราะห์ข้อมูลหรือผู้บริหารขององค์กร เนื่องจากเป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับบุคคลอื่นที่ไม่ได้ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลหรือที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลในขั้นต้นแต่จำเป็นต้องอาศัยทักษะหรือการทำงานร่วมกันบางประการ บางครั้งการนำเสนอข้อมูลอาจจะอยู่ในรูปแบบของการรายงานในที่ประชุม การแถลงผลงานประจำปี การประชุมเพื่อแจ้งถึงนโยบายใหม่ และการเขียนรายงานเพื่อนำไปสู่ผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ

การนำเสนอข้อมูลและรายงานสิ่งที่ได้จากข้อมูลถือว่าเป็นการบูรณาการทางความคิดที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการรวบรวม การวิเคราะห์ และการตีความหมาย นำมาสรุป ย่อ ย่อย ให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับฟังรับรู้หรือรับทราบ ดังนั้นผู้ที่นำเสนอข้อมูลจึงต้องมีความเข้าใจในกระบวนการของการบริหารข้อมูลทั้งหมดและสามารถชี้ประเด็นที่มีความสำคัญเกี่ยวกับทุกข้อมูลที่ต้องการนำเสนอได้อย่างเป็นเหตุและเป็นผล

หากองค์กรใดมีความเข้าใจในการใช้ข้อมูลและสามารถพัฒนาบุคลากรของตนเองให้สามารถใช้ข้อมูลที่มีอยู่อย่างมากมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้รวมไปถึงมีระบบและวิธีการจัดเก็บข้อมูล ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหรือข้อมูลที่เกิดจากการตกผลึกองค์ความรู้จากการบริหารข้อมูลและใช้ข้อมูลมาแล้วองค์กรต่างๆเหล่านี้ก็ย่อมที่จะได้เปรียบในการแข่งขันรวมไปถึงสามารถตัดสินใจได้เป็นข้อเท็จจริงที่มีความแม่นยำและตอบสนองต่อปัญหาต่างๆขององค์กรได้ในที่สุด

 

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

จาก OVOP สู่ OTOP จนกลายมาเป็น Soft Power

เมื่อพูดถึงสินค้าชุมชชน จุดกำเนินที่ทำให้เกิดการตะหนัก รับรู้ และเป็นแบบอย่างของบรรดาประเทศต่างๆ ทั่วโลกคือ สินค้า OVOP หรือ One Village One Product มีจุดกำเนินที่จังหวัด Oita ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งประกอบด้วย เมือง  Beppu, Nakatsu, and Saiki จุดเริ่มต้นเริ่มเมื่อปี 1979 ที่ได้ให้ชุมชนสรรหาผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่ด ใช้ทรัพยากรที่มีเฉพาะเจาะจงในพื้นที่ จนสามารถสร้างรายได้ สร้างชื่อเสียง และประเทศไทยได้เห็นตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จ และนำมาสู่ OTOP ในประเทศไทย

แต่ความสำเร็จของ OVOP ไม่ได้อยู่เพียงแต่การทำสินค้าให้ดีและทำบรรจุภัณฑ์สวยๆ เท่านั้น ซึ่งหากใครคิดแบบนี้นับว่าเป็นการเข้าใจผิดอย่างรุนแรง เพราะว่า สินค้าที่นำมาขายนั้น จะมีองค์ประกอบที่เด่นชัด 3 ประการ

1. มีความชัดเจนในลักษณะของสินค้า

สินค้าแต่ละชนิดต้องสามารถระบุถึงความชัดเจนของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของรสชาติ การใช้วัตถุดิบ และคุณภาพที่แหล่งการผลิตที่อื่นไม่สามารถทำให้เหมือนได้ แต่ไม่ได้บอกว่าที่อื่นจะทำสินค้าเดียวกันไม่ได้ เพียงแต่ คุณลักษณะของสินค้าจะมีความแตกต่างกันเท่านั้น

2. มีประวัติความเป็นมาของสินค้า

เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า คนญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตจะทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุดถามวิถึของ Zen ซึ่ง หมายความว่า จะมีการสะสมองค์ความรู้ ประวัติความเป็นมา และแนวคิดเอาไว้อยู่ในสินค้ามาอย่างยาวนาน ซึ่งสิ่งนี้ได้กลายเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อ 1 คือสินค้ามีความโดดเด่นในตัวของมันเอง

3. ทำให้เป็นอุตสาหกรรม

หากเราไปสังเกตุดีๆ สินค้า OVOP จะมีวิธีการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องบรรจุภัณฑ์ หรือ การวิเคราะห์สารอาหารต่างๆ รวมถึงความนิ่งของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมาตรฐานระดับอุตสาหกรรมที่ทุกชิ้น ต้องมั่นใจได้ว่า มีรถชาติ ขนาด กรรมวิธีในการผลิตที่เหมือนกัน

ด้วย 3 ปัจจัยว่ามานี้ แสดงให้เห็นชัดเจนว่า สินค้าที่จะได้ได้นั้น ต้องอาศัยความเป็นอุตสาหกรรมในการผลิต และมีความเป็นวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัย และมาตรฐานของสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสินค้าที่เป็นอาหาร

สำหรับประเทศไทย หลายคนยังเข้าใจผิดว่า การทำสินค้าชุมชนให้ดีนั้นต้องทำให้ได้คุณภาพดีๆ และทำบรรจุภัณฑ์ให้สวยๆ พร้อมใส่เรื่องราวลงไปด้วย ซึ่งก็ถูก แต่ไม่ทั้งหมด เพราะยังขาดเรื่องขั้นตอนการทำเป็นอุตสาหกรรม ขาดการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และการจดทะเบียน อย. ซึ่งสิ่งนี้จะช่วยทำให้ผู้บริโภครับทราบถึงมาตรฐานของสินค้าต่างๆ

นอกจากนั้นยังต้องสร้างการต่อยอดของสินค้าไปสู่เวทีโลก ซึ่งการผลิตสินค้าชุมชน ไม่จำเป็นต้องมีครบทุกชุมชนก็ได้ เอาชุมชนที่มีการสะสมประวัติ คุณภาพ และองค์ความรู้ ไปสู่การต่อยอดในอุตสาหกรรม

มาถึงเรื่อง Soft Power หากมาองดีๆ ก็ถือว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งที่ต้องอาศัยการส่งเสริมระดับอุตสากรรม ไม่ใช่ชุมชน ไม่ใช่การนำศิลปะการแสดงมาแสดงให้โลกเห็น แต่ต้องมีการวางแผนการสร้างความประทับใจอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Soft Power สามารถอยู่ในรูปแบบของ ศิลปะ การศึกษา การแพทย์ การให้ทุนช่วยเหลือ ศาสนา กีฬา การ์ตูน นิยาย ภาพยนต์ อะไรก็ได้ที่ทำให้คนรู้สึกดีกับประเทศหรือชุมชนของเรา นั่นหมายถึงว่า เราสามารถนำสินค้าชนิดอื่นไปพ่วงเพื่อขยายตลาด ขาย หรือ สร้างความเชื่อใหม่ๆ ให้หับผู้คนทั่วไปได้

ปัจจัย 3 ประการของสินค้า OVOP ก็สามารถเข้ามาอยู่ใน Soft Power ได้ คือ

1. การนำเสนอต้องดี มีคุณค่าทางจิตใจและชีวิตของผู้คนทั่วโลก ถ้าเป็นการ์ตูน ภาพยนต์ เพลง ต้องทำให้รู้สึกว่า ติด ชอบ รัก และหลง ถ้าเป็นการศึกษา การแพทย์ ก็ต้องทำให้ศรัทธา มีแต่ภาพทางบวกในความทรงจำ

2. มีประวัติที่ทำให้รู้สึกว่า น่าติดตาม น่าค้นหา น่าภาคภูมิใจ มีการถอดบทเรียนความสำเร็จ และให้ความรู้กับผู้คนทั่วโลกว่า มีอะไรดี ดียังไง อย่างประวัติศาสตร์อเมริกา กลายเป็นรากฐานของประชาธิปไตย หรือประวัติศาสาสตร์จีนโบราญ มีปรัชาญาการใช้ชีวิตแฝงในเรื่องราวต่างๆ และต้องพิสูจน์ได้จริงทางวิชาการ

3. มีความเป็นอุตสาหกรรม คือ ต้องมีนานทุนมาสนับสนุน เพราะการสร้าง Soft Power ต้องใช้ทุน ใช้คนจำนวนมาก และใช้เวลานาน ดังนั้น ระดับชุมชน ที่ไม่เป็นองค์กรที่มีการแบ่งหน้าที่อย่างชัดเจน เป็นอะไรทียากมากจะสามารถสร้างผลกระทบได้ในวงกว้า โดยส่วนใหญ่เราจะเป็นเพียงการประชาสัมพันธ์เพื่อการท่องเที่ยวเท่านั้นเอง

ประเทศไทย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องนำบทเรียนมาถอด วิเคราะห์ และสร้างกลยุทธ์อย่างเป็นระบบ พร้อมธิบายให้กับคนรุ่นหลังได้ว่า ทำไปเพราะอะไรแล้ว

ดร.นารา

6 ระบบการคิดของมนุษย์

6 ระบบการคิดของมนุษย์ 6 Thinking Systems of Human เมื่อมนุษย์ต้องคิดมากขึ้น หลังจากที่โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมายที่มาช่วยให้มนุษย์ทำงานง่ายขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม ก็มาช่วยคิดแทนมุษย์มากยิ่งขึ้น อย่างในช่วงปลายปี 2022 ได้เกิด Chat GPT ขึ้นในรูปแบบที่ให้บุคคลทั่วไปใช้ได้ ทำให้คนทั้วโลกเกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ว่า จะมาคิดแทนมนุษย์ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว จริงๆ แล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ที่มีการคำนวน คิดวิเคราะห์ด้วย อัลกอลึทึมขั้นสูง ได้มานานแล้ว มาช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ง่ายขึ้น จึงทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และต้องคิดมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจาก ระบบการคิดจำนวนมากถูกคอมพิวเตอร์ทำงานแทนไปหมดแล้ว ทำให้มนุษย์ต้องทำงานที่ใช้ความคิดที่มีความแยบคาย ซับซ้อน และสร้างสรรค์มากขึ้น

การคิดของมนุษย์ที่ต้องนำมาใช้งาน จะมีหลายๆ อย่างปนกันอยู่ ซึ่งการคิดเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ในสมองอันชาญฉลาดของนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม การคิดเป็นสิ่งที่มนุษย์ชอบ และไม่ชอบในเวลาเดียวกัน การที่มนุษยชอบคิด เพราะมนุษย์ได้คิดได้ตอบ และสนุกกับการคิด เพื่อได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ให้กับตัวเองตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่ชอบเนื่องจากการคิดก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งถ้ามนุษย์คิดอย่างหนักหน่วงทั้งวัน พลังงานที่มีอยู่ของมนุษย์จะไม่เพียงพอในการดำรงชีพ

ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีคือ สมองมนุษย์สามารถฝึกได้ตลอดชีวิต ดังนั้น หากเราฝึกคิดมากๆ ให้เกิดความชำนาญ สมองมนุษย์จะให้พลังงานน้อยลงในการคิด และสามารถคิดได้เร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีเส้นใยประสาทที่เพิ่มมากขึ้นในสมองที่ต้องใช้คิด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสมองส่วนหน้า ประเด็นคือมนุษย์ต้องฝึกคิดเรื่องที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดได้ เพื่อให้มนุษย์ยังสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้มาช่วยงานมนุษย์ได้ การคิดเหล่านี้ เป็นการคิดที่เชื่อมต่อกัน เป็นระบบการคิดของมนุษย์ที่มีความต้องการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงปี 2023-2027 ระบบการคิดเหล่านี้ เรียกว่าระบบการคิดเพื่อการหาความจริงและสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา ประกอบไปด้วย การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดอย่างมีตรรกะ และการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

 

การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)

การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการคิดเพื่อการแยกแยะประเด็นต่างๆ ว่ามีกี่ประเด็นในเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจของทุกสิ่ง เมื่อเราต้องการรู้จักอะไรที่ลึกซึ้ง เราต้องทำการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เหล่านั้นออกมาว่า มีกี่ประเด็น มีกี่องค์ประกอบ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถจัดกลุ่มได้ว่า มีอะไรที่เหมือนกัน หรือแต่กต่างกัน ดังนั้น คนที่สามารถวิคเราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้ดี จะเป็นคนที่สามารถจับประเด็น เห็นประเด็น และรวมประเด็นเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี มีเหตุผล ในการแยก และการรวมเข้าด้วยกัน สามารถอธิบายถึงเงื่อนไขการแยกประเด็นได้ดี

นอกจากการแยกประเด็นแล้ว การคิดเชิงวิเคราะห์ ยังรวมถึงการเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ว่า แต่ละประเด็นนั้น เท่ากัน หรือต่างกัน อะไรมามากกว่า อะไรน้อยกว่า ในเกณฑ์การวัดที่กำหนด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อนำไปสู่งการพยากรณ์ หรือการสังเคราะห์สิ่งใหม่ๆ ออกมาในอนาคตหรือในลำดับต่อไป

การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)

การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นการต่อยอดของการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อนำประเด็นต่างๆ ของการคิดเชิงวิเคราะห์ มาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน มีจุดเริ่มต้น และมีจุดสิ้นสุด โดยอาศัยความสัมพันธ์ของแต่ละประเด็น ซึ่งผู้คิดอาจจะใช้จากองค์ความรู้ที่มีอยู่ หรือแนวคิดทางทฤษฎีต่างๆ ที่มี ที่ได้ค้นคว้าวิจัย มาเป็นโครงสร้างในการเรียงร้อยประเด็นต่างๆ การคิดอย่างเป็นระบบ จะมีลักษณะที่สำคัญคือ มีลำดับขั้นของความคิดที่ชัดเจน มีจุดเริ่มต้น และมีจุดสิ้นสุด สามารถอธิบายได้ และมีความสอดคล้องกันในทุกๆ จุดของการคิด นั่นหมายความว่า เมื่อต้องมีการอธิบายซ้ำ สามารถอธิบายได้เหมือนเดิม มีความคงเส้นคงว่า และครบถ้วนในขบวนการคิดหรือการทำงานที่ต้องผ่านการคิด

 

การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)

การคิดเชิงวิพากษ์ คือการคิดให้ครบถ้วนในทุกแง่มุม เพื่อให้มั่นใจว่า การคิด การทบทวน และการพิจารณานั้น ได้ตระหนักถึงแง่มุมต่างๆ หรือโอกาสต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบต่อสิ่งที่เรากำลังคิดได้ครบถ้วนแล้วจริงๆ เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจ หรือกำหนดวิธีการในการจัดการ รับมือ หรือการแก้ไขปัญหาได้โดยไม่มีความเสียหายจากการตัดสินใจ หรือ ลดความเสียหายจากสิ่งที่คาดคิดไม่ถึงใหม่ที่สุด การคิดเชิงวิพากษ์ จึงเป็นการจำลองการคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อวิเคราะห์ประเด็น ที่จะมากรทบ รวมถึง การคิดภายใต้สถานการณ์ทุกๆ แบบที่ทำให้ผลลัพธ์เกิดการเบี่ยงเบนจากสิ่งที่ต้องการหรือคาดหวังไว้

การคิดเชิงวิพากษ์ ยังสามารถนำมาใช้กับการทำความเข้าใจ โดยมีการพิจารณาข้ามช่วงเวลาต่างๆ ได้อีก ซึ่งทำให้ค้นพบประเด็นต่างๆ ที่อาจจะหลงลืมไป การที่เราจะสามารถคิดได้ครบถ้วนนั้น จะต้องนำพื้นฐานการวิเคราะห์มาแยกยแะประเด็น และเพิ่มเติมในแง่มุมต่างๆ แล้วนำประเด็นที่แตกต่างกันในแง่มุมต่างๆ มาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง

 

การคิดเชิงสร้างสรร (Creative Thinking)

การคิดเชิงสร้างสรร เป็นการพัฒนาความคิดที่เกิดหลังจาาการคิดเชิงวิเคระห์ เพื่อให้เกิดแนวคิดคิดใหม่ การที่แนวคืดใหม่จะกลายเป็นความคิดสร้างสรรได้ ต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดที่แตกต่าง และ ความคิดนั้น ต้องมีประโยชน์ การคิดเชิงสร้างสรรเป็นการสร้างความคิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือ ไม่เคยคิดวิธีนี้มาก่อน ซึ่งจะใช้ในการแก้ปัญหา การสร้างกลยุทธ์ และสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงการแปลความหมายจากข้อมูล

ทักษะพื้นฐานที่สำคัญของการคิดสร้างสรรคือการฝึกการใช้จินตนาการ และความกล้า หมายความว่า ต้องมีจินตนาการเพื่อให้สมองได้ทำงานในพื้นที่ความคิดที่ยังไม่มีอยู่จริง ในเวลาที่คิด แต่เป็นการจำลองความเหตุการณ์ในความคิดขึ้นมาก ส่วนความกล้า หมายถึง กล้าที่จะคิด เชื่อว่า เราสามารถคิดอะไรที่แตกต่างกว่า ดีกว่าปัจจุบันได้ แล้วเมื่อคิดแล้วต้องกล้าที่จะนำเสนอให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความคิดสร้างสรรที่เกิดขึ้นด้วย

 

การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)

การคิดเชิงตรระกะคิดรูบแบบการคิดที่ที่ไล่เรียงเหตุผลจนมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่างคือ บริบทที่ใช้คิด หลักการที่ใช้คิด และ เกณฑ์การวัดเหตุการณ์ว่าเป็นสิ่งนั้นจริง การคิดเชิงตรรกะต้องอาศัยทั้ง การฝึกฝน และความรู้ประกอบกัน เพื่อให้สิ่งที่ต้องการอธิบาย หรือ สร้างสรรค์ออกมามีความน่าเชื่อถือ ไม่ฟุ้งซ่าน หรือ ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะขาดความเชื่อมโยงกันในความคิดและหลักฐานที่ปรากฎชัดแจ้ง

โดยส่วนมากแล้วการคิดเชิงตรรกะ เป็นการโน้มน้าวให้คนอื่นยอมรับและเชื่อว่า คิดที่คนหนึ่งคิดนั้น เป็นความจริง ไม่ใช่เกิดจากการมโนสำนึก หรือจินตนาการแบบไม่อยุ่ในพื้นฐานความเป็นจริง ผู้ที่จะคิดเชิงตรรกะในบริบทใดๆ จำเป็นที่จะต้องมีชุดความรู้ที่ยอมรับ หรือ ประสบการณ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในบริบทนั้นๆ และสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับเหตุการจริงได้

 

การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)

กลุยทธ์ หมายถึง วิธีการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ การคิดเชิงกลยุทธ์ หมายถึงการคิดที่เรียงร้อยเหตุและผล เรียงร้อยลำดับการเกิดเหตุการณ์เมื่อลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ ผู้ที่สามารถคิดเชิงกลยุทธ์ได้ จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องอย่างต้องการได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงสามารถนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนา การแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว

การคิดเชิงกลยุทธ์ ต้องอาศัยระบบการคิดทั้ง 5 รูปแบบก่อนหน้ามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัย ตั้งแต่การวิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการ การเรียงร้อยให้เป็นระบบ การคิดให้ครบถ้วน ไม่ขาดตกบกพร้อม สร้างวิธีการใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผลที่เป็นตรรกะชัดเจน เหมือนการบูรณาการการคิดเข้าด้วยกันที่ด้าน เพื่อออกวิธีการใหม่ๆ ให้บรรลุถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต

คนที่จะสามารถสร้างระบบการคิดแบบบูรณาการไปสู่กลยุทธ์ได้นั้น ต้องอาศัยการฝึกฝน เพื่อให้สามารถเพิ่มระดับความคิด การและใช้ศักยภาพของสมองให้ออกมาในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ รวดเร็ว และครบถ้วน โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวและการเชื่อมโนงระหว่าวบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น การคิดยิ่งต้องใช้ความซับซ้อนมากขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น และใช้การเรียบเรียงที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่สามาถบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันได้ จะเป็นคนที่สังคมยุคใหม่ต้องการ

ประเทศไทย อิสราเอล เกาหลี และ 500,000 (ล้าน) บาท

จากเหตุการณ์ของแรงงานไทยไปประเทศอิสราเอลจำนวนมากหลักลายหมื่นคน เป้าหมายของแรงงานเหล่านี้ ต่างมุ่งหวังว่า จะไปได้รายได้ค่าแรงเพื่อไปทำงานในภาคการเกษตรของประเทศอิสราเอลหลักแสนบาทต่อเดือน ในขณะที่เหตุผลของประเทศอิสราเอลบอกว่า แรงงานไทยมีฝีมือในภาคการเกษตรจึงเหมาะสมกับการจ้างงาน

นั่นแสดงว่า คุณภาพของแรงงานไทยมีคุณภาพที่ดีในสายตาของชาวโลก แต่ทำไม พวกเขา ไม่สามารถหารายได้ในประเทศไทย ที่เราบอกว่าเป็นประเทศที่มีความน่าอยู่ ปัญหาอย่างหนึ่งของไทยคือ หน่วยธุรกิจของประเทศจำนวนมาก ยังติดกับการใช้รูปแบบการผลิตแบบเดิม ที่ยังเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก ดังนั้น ต้นทุนจำนวนมากของการผลิตประเทศไทย จะอยู่ที่แรงงาน และค่าขนส่ง วิธีการที่จะทำให้เกิดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในประเทศไทยง่ายที่สุดคือ การลดราคาแรงงาน ซึ่งเรายังผูกกับ แรงงานขั้นต่ำที่ 300 บาท และพยายามจะไม่ให้ขึ้นมากกว่านี้ และทำไม อิสราเอล และเกาหลี ถึงสามารถจ้างแรงงานไทยได้หล่ะ ทั้งที่ เป็นคนเดียวกัน ความรู้เท่ากัน คำตอบคือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภาพการผลิต

ประเทศไทยเราขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การจัดการ และการใช้เทคโนโลยีในการลดต้นทุนแรงงานต่อหน่วยการผลิต จริงๆ คือการเพิ่มจำนวนการผลิตต่อแรงงานเท่าเดิม

การแจกเงิน 500,000 ล้านบาท จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าเศรษฐกิจเท่าไหร่ คำตอบคือน่าจะไม่เยอะ เพราะปริมาณเงินในประเทศ เกินกว่า GDP ไปแล้ว นั่นแสดงว่า มีปริมาณเงินล้นประเทศ การเพิ่มจำนวนเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจอีก ก็จะไม่ช่วยอะไรในการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไหร่นัก เนื่องจากตัวทวี หรือจำนวนรอบของเงิน อาจจะหมุนไม่ถึง 2 รอบ ปัญหาจริงๆ ของไทย อยู่ที่ การกระจายรายได้มากกว่า เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีแหล่งเงินในการใช้พัฒนาขีดความสามารถตลอดเวลา อีกทั้ง เมื่อมีขนาดใหญ่แล้ว ยังมีการประหยัดต่อขนาดใหนารผลิต

ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ SME มีเงินทุนจำกัด จึงต้องใช้แรงงานเข้ามาทดแทนการใช้เครื่องจักรในการผลิต ในขณะที่แรงกดดันของโลกอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทุนใหญ่จากต่างประเทศที่มีวิธีการผลิตขั้นสูง เช่น จากทางจีน มีเครื่องจักร และสามารถผลิตเครื่องจักรเองได้ ทำให้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีทางด้านอตสาหการต่างๆ หรือ ในหลายประเทศ มีเทคโนโลยีทางด้านดิจิตัล สามารถผลิตระบบการประมวลผลขั้นสูงต่างๆ อย่างพวก AI ได้ มีเงินพร้อมลงทุนกับ Start Up เพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสที่มองไม่เห็นต่างๆ

ตัดกลับมาที่ประเทศไทย อะไรทำให้ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางนานมาเกินกว่า 20 ปี เรียกว่ารายได้แทบจะไม่ขึ้นเลย แต่เงินเฟ้อขึ้นไปแบบเงียบๆ นิ่มๆ อย่างน่ากลัว ก็เพราะเรายังขนาดเทคโนโลยีต้นน้ำจริงๆ เราไม่สามารถผลิตเครื่องจักรเองได้เลย อย่างรถยนต์ เราเป็นแหล่งผลิตรถที่ใหญ่มากของโลก แต่ เราไม่มียี่ห้อรถของตัวเอง เรามีรถที่ผลิตได่หลากหลายรุ่น แต่เราไม่มีเครื่องจักรผลิตรถที่สร้างเองได้ เราสามารถดัดแปลงรถยนต์ได้ แต่เราไม่สามารถสร้างเครื่องมือดัดแปลงได้

ในด้านเทคโนโลยีดิจิตัล ประเทศไทยยังไม่มีบริษัทที่สร้างแอพ หรือแพลตฟอร์ม แล้วไปขายอยู่ในต่างประเทศ มีแต่แอพที่ใช้เองในประเทศ SME ของเราก็ยังใช้ระบบเดิมในการผลิตและการบริหาร แม้ว่าสินค้าเราจะมีคุณภาพ แต่ก็เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาไม่แพง มันช่างดูย้อนแย้งกันที่สุด

เงิน 500,000 ล้านบาท ทำอะไรได้บ้าง

เงินจำนวนนี้ ถึงส่าเป็นเงินขนาดมหึมา ถ้านำมาใส่ในการพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการ การผลิต และการขนส่งให้กับธุรกิจขนาดกลาง เพื่อให้เกิดผลิตภาพที่สูงขึ้น เน้นว่า ผลิตภาพที่เป็นผลิตภาพต่อแรงงาน เพื่อให้สัดส่วนของค่าแรงลดลง ตัวอย่างง่ายๆ การทำถนน ทุกวันนี้ เรายังใช้แรงงานคนในการผูกเหล็กเพื่อสร้างถนนอยู่เลย และหากต้องการสร้างถนนยาว 500 กิโลเมตร จะต้องใช้แรงงานเท่าไหร่ หรือ การซ่อมถนน ที่ต้องใช้คนเข้ามาจัดการจำนวนมาก ทำให้เวลาในการทำงานต้องเพิ่มขึ้น นานขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น แรงงานัยงไม่สามารถใช้เครื่องมือทันสมัยในการก่อสร้างได้ ซึ่งนั้นคือปัญหา

เงินเหล่านี้ เอามาสร้างคุณภาพแรงงานที่สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เอามาให้ SME กู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต เอามาฝึกอบรมให้เกิดการใช้ IT และ Digital ได้มากมาย และยังสามารถเอามาใช้ในการพัฒนาระบบการแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำงานได้ดีขึ้น ครอบคลุมคนได้มากขึ้น และให้ทำงานน้อยลง มีสวัสดิการกับคนทำงานทั้งประเทศในราคาที่ถูกลง

 

500,000 ล้านยังทำอะไรได้อีก

เอามาพัฒนาบริษัทการเกษตรไฮเทคต้นแบบ เรียบแบบอิสราเอล แล้วนำกำไรที่ได้จากบริษัทเหล่านี้ ไปต่อยอดการลงทุนให้เกิดการการตั้งบริษัทใหม่ๆ เพื่อเรียกร้องให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร ให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เนื่องขากทุกวนนี้ การทำนาของประเทศไทย ยังคงเหมือนเดิมเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ต่างแต่เพียง มีเครื่องจักรเบา และสารเคมีที่เพิ่มขึ้น การเกษตรยังไม่เคยใช้ Digital Tech มาใช้งานเลย รวมถึงการสร้างระบบ อุปทานสาระสนเทศ เรียกง่ายๆ ว่า การทำฐานของมูลดิจิตัล เพื่อให้รู้ว่า ทุกตารางเมตรในการเกษตรปลูกอะไร ผลิตอะไร จะออกมาเท่าไรไหร่ ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมันสามารถพยากรณ์ได้หมด กลายเป็น Big Data

ทั้งหมดนี้ ได้แต่ภาวนา ให้เงิน 500,000 ล้าน เกิดประโยชน์กับชาติ และไม่เอาไปละเลงหายไปกับสายลมและกาลเวลา

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

ทฤษฎีสมคบคิด มายาคติ และตรรกะเพี้ยน

ในยุคของการสื่อสารที่มันง่าย ง่ายจนข้อมูลสามารถแพร่กระจายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารทางตรงจากการที่ผู้คนมาเจอหน้ากัน การสื่อสารผ่านสื่อ ที่ทุกคนกลายเป็นผู้สื่อข่ายได้โดยง่ายผ่านสังคมออนไลน์ การสื่อสารด้วยเครื่องมือสมัยใหม่ที่เรียกว่า AI ทำให้ปริมาณข้อมูลที่ส่งหากันเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกปี

จากข้อมูลของ กสทช ณ เดือน 12 ปี 2022 มีขนาดการใช้ข้อมูล (Bandwith) ภายในประเทศ 13,623.805 Gbps และต่างประเทศ 21,519.252 Gbps ในขณะที่ เดือน 12 ปี 2021 มีขนาดการใช้ข้อมูล (Bandwith) ภายในประเทศ 10,334.655  Gbps และต่างประเทศ 17,910.334 Gbps เพิ่มขึ้นมา 24.42% และอัตราการเพิ่มขึ้นแบบนี้ คงที่ตลอดทุกปี ส่วนหนึ่งมาจากเทคโนโลยีการสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลภาพและเสียงที่มีความละเอียดเพิ่มมากขึ้นได้ ส่วนหนึ่งก็มาจากทุกคนการเป็น Content Creator เอง และอีกส่วนหนึ่งก็เกิดจากเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องจักรเป็น Content Creator ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรจะเป็นในโลกของการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0

ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ว่า ข้อมูลที่เราได้รับ ส่งออก และส่งต่อนั้น เป็นข้อมูลที่มีความจริงมากน้อยแค่ไหนจึงอยากชวนมาทำความเข้าใจกับความจริงที่เกิดขึ้นกับข้อมูลนั้นเสียก่อน

ข้อมูลประเภทแรก เรียกว่า ข้อมูลแบบทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) เป็นการอธิบายเหตุการณ์ใดๆ โดยการนำเหตุการณ์ต่างๆ มาประติดประต่อกัน เพื่อให้คนที่รับรู้เหิดความเชื่อ บางครั้งเชื่อเป็นตุเป็นตะกันไปใหญ่ และหลังผลบางอย่าง โดยเฉพาะหวังผลทางการเมือง เช่น ทฤษฎีโลกแตก ปี 2000 นำเหตการณ์ของโลกไปเชื่อมโยงกับคำภีร์ไบเบิ้ล หรือ ทฤษฎีอิลูมิเนติ ว่าคนกลุ่มหนึ่งในโลกต้องการสร้างโลกใหม่ในอุดมคติ แล้วไปเชื่อมกับตราสัญลักษณ์ต่างๆ ในประเทศไทยก็เกิดขึ้นมาเยอะ เช่นนักการเมืองคนนั้น คนนี้มีการดิลลับกับคนนี้ มีการชักใยอะไรอยู่เบื้องหลัง มีสัญลักษณ์นู่นี่น้่นออกมา เป็นการประกาศให้พวกพ้องให้เค้ารู้กัน แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นจริง เค้าประชุมออนไลน์กันตรงๆ ไม่ง่ายกว่าเหรอ ทำไมต้องมาแอบทำออกสื่อด้วย สมัยนี้ เครื่องมือง่ายกว่าเยอะเลย

ข้อมูลประเภทที่ 2 มายาคติ เป็นการเชื่อมโยงความชอบกับความไม่ชอบของตัวเอง และไปสรุปร่วมกับสิ่งที่อยากได้ เช่น ยาสีฟันต้องมีฟอง ไม่อย่างงั้นสีฟันไม่สะอาด อากาศที่ปลิดภัยต้องมีกลิ่นที่สดชื่น คนจะรวยได้ต้องมีเงินติดกระเป๋าเอาไว้ตลอด ซึ่งยังรวมไปถึงความเชื่อบางอย่าง ที่คิดยังไงก็งง เช่น ใช้เบอร์โทรศัพท์นี้และจะโชคดี (สมัยก่อนไม่มีโทรศัพท์ก็มีคนโชคดี) หรือที่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทถกวันคือ การมีอิสระภาพ เท่ากับการทำอะไรก็ได้ และผู้คนก็เชื่อโดยไม่ลังเล เพราะสิ่งที่ได้รับมาตรงต่อความต้องการของตัวเองพอดี อยากสะอาด อยากรวย พอมีคนบอกว่าทำอะไรแล้วจะรวย ตรงกับจริตพอดี เลยเชื่อเลย หรือตอนช่วงโควิดระบาด ให้กินสมุนไพรบางชนิด แล้วจะป้องกันโควิดได้ กกินกันใหญ่ เพราะไม่อยากติดโควิด

ข้อมูลประเภทที่ 3 ข้อมูลที่เกิดจากตรรกะ แต่ต้องระวังอีก เพราะการคิดเชิงตรรกะเป็นการคิดเชิงเป็นเหตุและเป็นผล แต่ไม่ได้หมายความว่า มีเหตุ และมีผลจะกลายเป็นตรรกะ จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย ตรรกะเป็นการคิดแบบมีเหตุ และมีหลักการที่ดี หรือการการทางวิชาการมารอบรับ และนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการ ดังนั้น การคิดแบบตรรกะ ที่ปราศจากหลักการ หลักฐานที่สามารถพิสูจน์ได้ ก็จะกลับไปสู่การคิดมามายาคติทั้งนั้น เป็นเรื่องที่ต้องระวัง และในบรรดาเนื้อหา (Content) ทีสร้างกันขึ้นมาจำนวนมาทั้งในวันนี้หรืช่วงเวลาที่ผ่านมา ก็มีจำนวนมากที่เป็นการคิดแบบตรรกะ แต่ไม่มีหลักการและหลักฐานมาประกอบ ไม่ได้ดูภาพรวมในบริบทนั้น กลายเป็นคำพูดที่ล้อกันว่า ตรรกะป่วย

การป้องกันไม่ให้เกิดข้อมูลที่ผิดเพี้ยนในโลกของข้อมูลที่หลั่งไหลลงมา คือการใช้ 3 หลัก ในการช่วยให้เกิดการกลั่นกรองเรื่องราวต่างๆ ก่อนเชื่อ และก่อนสร้างเนื้อหาที่ผิดเพี้ยน โดยเฉพาะที่เป็นข่าวปลอม หรือ Fake News

หลักคิด เป็นหลักตัวแรก เพื่อระบุว่า เรากำลังคิดเรื่องอะไร ทำไมเราถึงคิดเรื่องนี้ เราต้องการอะไรจากการคิดเรื่องนี้ มีความชัดเจนแม้กระทั่งระบบการคิด เป็นเหตุ ของการคิดและความเชื่อทั้งหมด

หลักการ เป็นหลักที่ 2 ในการคิด หมายถึง เป็นการระบุว่า ในเหตุที่เราต้องการนั้น เราสามารถใช้แนวคิด ทฤษฎี ปรัชญา อะไรมาอธิบาย ยิ่งแนวคดทฤษฎีนั้น มีความเป็นสากล มีความเป็นกลางได้มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งติดอคติ มายาคติ หรือ การสมคบคิดออกได้ได้มากเท่านั้น ปัญหาคือ คนจำวนมากไม่รู้ว่า จะเอาหลักอะไรมาเป็นตัวคิด ตรงนี้จึงต้องมีการเรียนหนังสือ สอนให้คิด แทนการสั่งให้ปฏิบัติเพียงอย่างเดียว

หลักเกณฑ์ เป็นหลักที่ 3 คือ รู้ได้อย่างไรว่าคิดที่คิดนั้น คิดได้ถูก โดยธรรมชาติของคน เราต้องการอะไรบางอย่างจากการกระทำ ดังนั้น เมื่อเราชัดเจนตั้งแรก เราก็จะรู้ว่าผลที่ได้จากการคิดนั้น ถูกต้องหรือไม่ แต่ถ้าเราไม่มีการวัดผลของการคิด เราก็จะคิดไปเรื่อยๆ ไม่รู้จบ จนกลายเป็นคิดวนไปวนมา และเชื่อว่าสิ่งที่คิดเป็นความจริงในทุด คล้ายๆกับการสะกดจิตตัวเอง จนสุดม้ายก็เกิดผลประทบต่อการใช้ชีวิต

3 หลักนี้ จะช่วยให้เราอยู่ได้อย่างมีความสุขกับความจริง ไม่ใช่ความเชื่อในโลกที่ปริมาณข้อมูลพุ่งทะยายแบบไม่หยุด และหลีกเลี่ยงการเกิดการสร้างข่าวปลิดซ้ำ ไปอีก นอกจากนั้น ยังสามารถนำไปใช้กับการทำงานได้ โดยเราเอาไปใช้ในการตัดสินใจให้มีความชัดเจน ไม่ใช่เป็นการเดาเอาเอง เชื่อเอาเอง แล้วทำให้ตัดสินใจพลาดในที่สุด ลองเอาฝึกกันดู

ดร.นารา

สิทธิ เสรีภาพ และความรับผิดชอบ

การบริหารคนในองค์กร หรือการบริหารคนในสังคม ต้องมีสิ่งหนึ่งที่อยู่ควบคู่กันคือการใช้กฎ ระเบียบ ข้อตกลงเป็นการควบคุมพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ ซึ่งแน่นอนว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับจะเป็นการลดทอนเสรีภาพบางอย่างของมนุษย์ไปด้วย แต่ถึงกระนั้น กฎก็ยังจำเป็นในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์อยู่ดี เพียงแต่ว่า ในแต่ละชุมชน สังคม หรืประเทศจะยอมรับกฎระเบียบต่างๆ ไว้ได้อย่างไร
ผู้บริหารที่ชาญฉลาดต้องทำเข้าใจกับเรื่องนี้ เพื่อให้สามารถควบคุมชุมชนให้อยู่ในพฤติกรรมที่เหมาะสม เหมาะสมกับการพัฒนาองค์กร เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ ของแต่ละชุมชนนั้นๆ ซึ่งปัจจัยพื้นฐานของคงอยู่ของชุมชน สังคมคือ สิทธื เสรีภาพ และความรับผิดชอบ
สิทธิ หมายถึง การได้มีอำนาจของคนเหนือในบางสิ่งบางอย่าง หรือ การที่บุคคลควรได้รับอะไรบางอย่างที่เป็นสิ่งที่บุคคลนั้นสามารถตัดสินใจเองได้ เช่น สิทธืการมีชีวิต หมายถึง บุคคลมีอำนาจเหนือตนเองในการเลือกมีชีวิต เลือกการใช้ชีวิต คนอื่นไม่ควรมาตัดสิดสินในการยติการมีชีวิตได้ สิทธิในแสดงความคิด้ห็น หมายถึง บุคคลย่อมมีอำนาจต่อเหนือความคิดของตนเอง และสามารถนำเสนอออกมาให้คนอื่นได้รับรู้ได้ว่า ตนเองนั้นคิดอย่างไร การที่บุคคลมีสิทธิมากขึ้น นั่นแสดงว่าบุคคลย่อมมีอำนาจมากขึ้นตามไปก้วย จึงไม่ต้องแปลกใจว่า สังคมปัจจุบัน มีความพยายามเรียกร้องสิทธิมากขึ้น ไม่ว่าจะเป้นสิทธิในการแสดงออกทางการเมือง สิทธิในการเติบโตทางการอาชีพของสตรี สิทธิในการปกป้องความปลอดภัยของตัวเอง ซึ่งขริงๆ แล้วก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องด้วยที่คนหรือบุคคลจะได้รับสิทธิเหล่านั้น แต่การที่มีสิทธิมากการเกินไป ก็ใช่ว่เป็นเรื่องที่ดีเสมอไป และการที่มีสิทธิมากๆ เท่ากับมีเสรีภาพมากขึ้นตามไปด้วย
เสรีภาพ หมายถึง พื้นที่ปลอดภัยของตนเองและผู้พื้นที่เราสามารถใช้สิทธิในการแสดงออกได้อย่างเต็มที่ คำว่าพื้นที่ปลอดภัยหมายความว่า เสรีภาพที่แท้จริงไม่ได้หมายความว่าจะทำอะไรก็ได้ในโลกนี้ แต่หมายถึงทำอะไรก็ได้ที่ไม่กระทบต่อเสรีภาพของคนอื่น นั่นหมายความว่า คนเราจะสามารถใช้เสารีภาพได้อย่างเต็มที่ ก็ต่อเมื่อเราเข้าใจสิทธิของคนอื่น และของตนเองอย่างเต็มที่เช่นกัน และข้อมที่สำคัญคือ เราต้องเข้าใจสิทธิของคนอื่นก่อน เพื่อให้รู้ว่าพื้นที่ไหน เป็นพื้นที่ห้ามไปล่วงละเลิดคนอื่น เช่น การที่เราไปพูดพาดพิงในการแสดงออกทางความความคิดเห็นนั้น จะต้องไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ไม่ทำให้คนอื่นสูญเสียอำนาจและเสรีภาพ หรือการที่ดราจะไปจอดรถในพื้นที่ส่วนกลาง ก็ต้องรู้ว่า การจอดรถนั้น ไม่ได้ทำให้ใครเดือดร้อน เพราะพื้นที่ส่วนกลางหมายถึง เป็นพื้นที่ทุกคนเป็นเจ้าของ ไม่ได้หมายความว่าเราจะทำอะไรก็ได้กับพื้นที่ส่วนกลาง เพราะพื้นที่ส่วนกลางมีไว้เพื่อให้ทุกคนได้รับประโยชน์จากพื้นที่ส่วนนั้น เมื่อเราเข้าใจสิทธิของคนอื่น จึงมาทำความเข้าใจสิทธิของคนเอง ว่าเราทำได้มากน้อยแค่ไหน
 หากเราเปรียบเทียบเสรีภาพได้กับร่างกายของเรา เสรีภาพเหมือนกับขอบเขตที่เราทำอะไรก็ได้ตามสิทธิ์ ภายใต้แขนที่เรากางออกไปถึงเท่านั้น ไกลกว่าแขนของเราก็ไม่ใช่เสรีภาพของเรา แต่เมื่อแขนของเราไปสัมผัสกับใครหรืออะไรเข้าเราต้องหดมือเข้ามา นั่นมหมายความว่า เสรีภาพของเราก็มีพื้นที่จำกัดด้ยเช่นกัน!!!
ความรับผิดชอบ เป็นราคาของสิทธิและเสรีภาพ ความรับผิดชอบเป็นการตอบสนองต่อการการทำของตนเอง ต่อหน้าที่ของตนเอง และต่อบุคคลรอบข้างที่รับผลกระทบของตนเอง ความรับผิดชอบ แบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ ความรับผิด และความรับชอบ ความรับผิดหมายถึง รับผลที่เกิดขึ้นจากการทำผิด หรือ การยอมรับผลกระทบที่เกิดขึ้ยจากการใช้สิทธิและเสรีภาพของเรา รวมไปถึงเราต้องไปจัดการผลกระทบด้วยตัวเอง ส่วนการรับชอบคือ การรับผลดีทางบวก และใช้ให้เกิดประโยชน์่อไปในอนาคต ความรับผิดชอบเป็นเรื่องที่สำคัญในการใช้สิทธิเสรภาพของคน
ในมุมของการบริหารคน ผู้บริหารต้องเรียนรู้ศิลปัการให้เสรีภาพที่เมหาะสม เพราะการให้มากเกินไป ก็จะเกิดฌอกาสการกระทำที่ไม่มีความรับผิดชอบ มีแต่จะเอาเสรีภาพเท่านั้น แต่ถ้าให้น้อยไป ก็จะเนการกดดัน และทำให้เกิดความเครียดหรือบางครั้งเรียกว่า การกดขี่ในสังคม ความพอดีของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันไป ผู้นำ ผู้บริหาร ต้องเรียนรู้การออกแบบเสรีภาพแบบที่เหตุผล ที่สมาชิกของสังคมได้เข้าใจว่า การสละเสรีภาพของต้นเองไปนั้น จเปิดประโยชน์อะไรกลับมาเป็นการตอบแทน
ดร.นารา

บทเรียนจากการเลือกตั้งสู่การปรับตัวทางธุรกิจ

แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่านใจหลายอย่างที่สะท้อนถึงความคิดคนในประเทศไทย และสามารถนำมาสู่การจัดการธุรกิจที่ต้องสอดคล้องกับพฤติกรรมสังคมในปัจจุบันไปถึงอนาคต

หากเราวิเคราะห์กัน เราจะถามกันว่า อะไรทำให้ก้าวไกลชนะการเลือกตั้ง หากดูจากคะแนนเสียงของ สส. บัญชีรายชื่อ มีมากกว่า 14 ล้านเสียง จากผู้มีสิทธิออกเสียง 52 ล้านเสียง แล้วใครหล่ะใครหล่ะเป็นผู้เลือกก้าวไกล

ค่อนข้างชัดเจนสำหรับคนที่เลือกก้าวไกล จะเป็นคนรุ่น Gen X ปลายๆ Gen Y และ Gen Z รวมไปถึง กลุ่มที่เป็น First Time Voter เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ได้ สส. บัญชีรายชื่อไปถึง 39 คน จาก 100 (ตัวเลขก่อนการรับรองผลจาก กกต.) ในอีกด้านหนึ่ง สส. แบบเขต ได้มาเพียง 113 คน จาก 400 เรียกว่าสัดส่วนแตกต่างกันอย่างมาก

แต่อย่างไรก็ตาม เรียกว่า กลุ่มนี้เป็นสัดส่วนถึง 40% ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่กำลังจะเข้ามีบทบาททางเศรษฐกิจในอีกไม่นานนี้ เรียกว่าอนาคตของชาติจริงๆ

อะไรทะให้คนกลุ่มนี้ถูกใจก้าวไกล เป็นคำถามที่น่าสนใจ เป็นเพราะ ประเด็นประชาธิปไตยจริงหรือ หรือว่า เปนประเด็นร้อน 112  จากการวิเคราะห์น่าจะมีส่วน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงช่วงหาเสียงเท่านั้น ตัวแปรที่ให้เกิดเหตุการณ์นี้มันสะสมมาตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 3.0 หรือยุค Dot Com

เมื่อข้อมูลของโลกได้ขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่การกำเนิก Google ในปี 1998 ทำให้ระบบการรับรู้ข้อมูลของคนทั้งโลกได้เปลี่ยนแปลงไป เด็กในวันนั้นที่ได้เรียนหนังสือตั้งแต่มหาวิทยาลัยลงไป ได้เรียนรู้การเข้าถึงข้อมูลมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัจจุบันวันนี้ คนกลุ่มนี้ก็มีอายุประมาณ 45-47 ปี ลงมา

มนุษย์ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการเข้าถึงข้อมูลอย่างมาก เรียนรู้การรับรู้ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ่น ตามมาด้วยการไม่เชื่อคน แต่เชื่อเครื่อง เพราะเครื่องสามารถให้ข้อมูลได้ละเอียด มีหลักฐาน สามารถนำมาเปรียบเทียบได้ง่าย และที่สำคัญ เร็วทันใจเป็นอย่างมาก

จะเห็นได้ว่า เด็กๆ เยาวชนปัจจุบัน จะไม่ฟังคำสั่งแล้ว แต่จะฟังว่า ที่ให้ทำ มีเหตุผลอะไร เอาทฤษฎีอะไร และหลักการอะไรมารองรับ มีความเชื่อในความเป็นอิสรชน เชื่อในเรื่องสิทธิเหนือร่างกายของตัวเอง เชื่อในหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ต้องพิสูจน์ได้ และที่สำคัญ ต้องการสิ่งที่เรียกวาสร้างสรร แปลกใหม่แต่ดูดี ไม่ต้องสมบูรณ์แบบ

ผู้ใหญ่หลายคนเลยบอกว่า เด็กสมัยนี้ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ จริงๆ ไม่ใช่ไม่เชื่อฟังพ่อแม่ แต่พ่อแม่ต้องเถียงแข่งกับอินเตอร์เน็ต และมีหลักฐานชัดเจนในการอธิบายได้ว่า ที่ห้าม ไม่ดี สิ่งนั้น ไม่ดีอย่างไรเป็นที่ประจักษ์

การเลือกตั้งสะท้อนภึงพฤิตกรรมได้อย่างชัดเจนสำหรับกลุ่มนี้

ในทางธุรกิจ หากมองว่าคนกลุ่มนี้คือเป้าหมายในการขายและเป็นลูกค้าคนสำคัญทั้งปัจจุบันและอนาคต ธุรกิจต้องเรียนรู้ในการปรับตัวเอง ให้สินค้า และบริการของตัวเองมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. เห็นผลทันที เพราะคนกลุ่มที่กล่าวถึงมานี้ ถูกฝึกให้ทำอะไรเร็ว ไม่ต้องรอ ดั้ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของผลการใช้สินค้าและบริการ หรือ การสื่อสาร ต้องเข้าเป้าตรงประเด็น ไม่อ้อมค้อม ไม่ต้องแปลความหมายมากมาย
  2. ไม่จำเป็นต้องดีที่สุด แต่ขอให้ตอบโจทย์ได้ เพราะพวกเขาพร้อมที่จะลอง และสื่อสารย้นอกลับได้ตลอดเวลา แต่ว่าต้องมีช่องทางในการสื่อสารที่รวมเร็วเข้าถึงง่าย ตอบสนองไว พร้องทั้งปรับปรุงผลิตภัณฑ์อย่างเร็ว เห็นได้ชัดตลอดเวลา
  3. มีความสม่ำเสมอ เพราะเมื่อธุรกิจได้บอกถึงสรรพคุณของตนเองแล้ว จะถูกจับจ้องตลอดเวลา นั่นหมายความว่า พูดอย่างไรต้องเป็นแบบนั้น เพราะข้อมูลมันถูกกระจายไปโลกออนไลน์หมดแล้ว ถ้าทำผิด กลุ่มคนเหล่านี้ก็พร้อมที่จะเอาหลักฐานมาโจมตีได้ทันที ยิ่งดัง ยิ่งโดนจับจ้อง
  4. ทำอะไรต้องพิสูจน์ได้ มีหลักการ มีเหตุผล จะทำให้คนกุล่มนี้เชื่อ แต่ถ้าพูดลอยๆ อธิบายไม่ได้ รับรองเลยว่าไม่มีทางเชื่อเด็ดขาด เพราะคนกลุ่มนี้ เคยชินกับการศึกษาข้อมูลในปริมาณมากๆ และพร้อมที่ทำข้อมูลซ้ำให้คนอื่นได้เชื่อตามเช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นการวิเคราะห์ส่วนตัว แต่ละท่านมีสิทธิที่จะเชื่อหรือไม่ก็ได้

ดร.นารา

ปั้นคนเก่ง #EP41 ผู้นำแบบอำนาจและผู้นำแบบบารมี

ว่ากันด้วยผู้นำ เป็นประเโ้นที่กำลังกล่าวถึงมากในตอนนี้ แต่จริงๆ แล้วก็กล่าวถึงมานานแล้วด้วย เพราะการที่โครงสร้างทางสังคม ทางธุรกิจของเรามีความซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น คนรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น และง่ายขึ้น สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น องค์กรก็มีความคาดหวังต่อพนักงานให้สร้างผลงานและคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี

ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนแย้งกันอยู่เอาเรื่องทีเดียว แน่นอนว่าจะต้องมีคนมาเชื่อมโยง และจูงใจให้ทุกคนร่วมกันเป็นหนึ่งแล้วให้ทำงานจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ คนนั้นใครๆ ก็รู้จักกันเรียกว่า ผู้นำ แต่ผู้นำที่จะมีความสามารถในการจูงใจ ทำให้คนเชื่อถือ และยอมทำตามได้ เรียกว่า ภาวะผู้นำ 

คำถามหลักๆ คือว่า แล้วภาวะผู้นำสร้างขึ้นมาอย่างไร สิ่งนี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ  แต่อย่างน้อย ก็เป็นส่วนผสมของปัจจัย 2 อย่าง นั่นคือ อำนาจ และบารมี

ผู้นำแบบอำนาจ หมายถึง คนที่ใช้อำนาจที่ตัวเองได้รับ หรือ Authority ตัวอย่างเช่น อำนาจในการอุมัติวงเงิน อำนาจในการประเมิน ซึ่งอำนาจพวกนี้ ไม่ได้เป็นอำนาจที่สร้างขึ้นมาเอง เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนเจ้าของธุริจ หรือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง บางครั้งอำนาจอาจจะมาอยู่ในรูปของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย เช่นการลงไม้ลงมือ ความรุนแรงทางวาจา เช่นการด่า ตะคอก หรือให้เสียดสี บูลลี่ รวมถึงความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การให้ในสิ่งที่ไม่ชอบหรือกลัว ทำให้รู้สึกแย่ ว้าเหว่ หดหู่ รวมถึงการใช้กฎระเบียบหรือกฎหมายมาบังคับ

ผู้นำแบบอำนาจ จะใช้ความกลัวเป็นตัวตั้ง ทำให้คนอื่นกลัวว่าจะได้รับผลไม่ดี ถ้าไม่ทำตาม ผู้คนจะทำตามเรื่อยๆ จนวันหนึ่งเกิดเสื่อมอำนาจ ใช้แล้วคนไม่กลัว ภาวะผู้นำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ สั่งอะไรก็ไม่มีใครทำตาม ก็ถึงจุดอันตรายของผู้นำคนนั้น

แบบที่ 2 ผู้นำแบบบารมี

การสร้างบารมีเป็นการสร้างคุณงามความดี การสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นเรื่อยๆ ต้องอาศัยการสะสมความรู้สึกและภาพจำ จนคนทั่วไปรู้สึกเกรงใจ การสร้างบารมีเริ่มต้นด้วยการช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับคนรอบข้าง การให้ความรู้ การให้การช่วยเหลือ การให้เงินหรือทรัพยากร การให้กำลังใจ การให้ความเข้าใจ การให้การยอมรับ และอีกมากมายที่ทำให้คนมีกำลังใจ มีความสุข

ผู้นำแบบบารมีจำเป็นต้องใช้เวลา ไม่เห็นผลในทันที ต้องรอการพิสูจน์ว่าดีจริงหรือไม่ แต่เมื่อใดที่ได้ระดับของบารมีที่สะสมแล้ว คนจะเกรงใจ มากกว่าเกรงกลัว เป็นคนที่มีอำนาจอย่างประหลาด แค่พูดเบาๆ คนก็ทำตาม เป็นลักษณะ Soft Power

เมื่อเราเปรียบเทียบการสร้างภาวะผู้นำก็เหมือนกับเงินออม จะช่วยทำให้เราเข้าใจภาพได้ง่ายขึ้น

ผู้นำแบบบารมี เป็นเหมือนการสะสมเงินเอาไว้ เก็บเอาไว้เยอะๆ คนที่มีเงิน ก็จะมีดูมีบารมีทันที

ผู้นำแบบอำนาจเหมือนกับการถอนเงินออกมาใช้ ทุกครั้งที่ใช้ เท่ากับการเอาบารมีเก่าออกมา ใช้มากเกินไป เงินหมด จนพอดี

ในการเก็บเงิน เราก็บอย่างเดียวมากเกินไป ไม่ใช้เงินเลย เค้าเรียกว่าคนตระหรี่ ขี้เหนียว งก ไม่มีใครอยากคบ ซึ่งคนที่ใช้บารมีมากๆ จะดูเป็นผู้นำที่อ่อนแอ ไม่กว่าตัดสินใจให้โทษใคร มีแต่สร้างคุณ ผู้นำแบบนี้ จะดีในกรณีที่องค์กรอยู่ในสภาวะปกติ แต่จะไม่ดีกับองค์กรที่เกิดสภาวะผิดปกติ

สำหรับคนที่มีเงินมากแล้วได้ใช้ไปบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ จะยิ่งเป็นการเสริมบารมีให้ดูดีขึ้น เหมือนกับคนที่รู้ว่า เวลาไหนที่ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้กับคนอื่น และเวลาไหนที่ต้องตัดสินใจ ใช้ความเด็ดขาดและอำนาจให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นก็รีบสร้างบารมีมาชดเชยกับการใช้อำนาจไป แบบนี้จะเรียกว่าเป็นสุดยอดของผู้นำ

ทั้งหมดนี้จึงเป็นศิลปะ ในการเป็นผู้นำ รู้ว่าเวลาไหนต้องใช้อำนาจ หรือ บารมี ไม่มีสูตรตายตัว มีแต่การใช้สติ และปัญญาเท่านั้น ที่ผู้นำต้องเรียนรู้และวิเคราะห์ว่า แต่ละวันจะใช้อะไรเท่าไหร่ และอย่างไร

ปั้นคนเก่ง #EP40 สร้างทีมงานให้มีความเป็นผู้ประกอบการ (ภาคต่อ)

ตอนนี้มาว่ากันถึงในส่วนที่เป็นพนักงานบ้าง เพราะเมื่อเจ้าของได้ไว้วางใจทีมงานไปแล้ว ทางพนักงานก็ต้องไว้วางใจเจ้าของด้วยเช่นกัน ถึงจะทำให้องค์กรมีความเป็นผู้ประกอบการขึ้นมาได้ทั้งหมด

มีคำถามบ่อยมากว่า ทำอย่างไรให้พนักงานรักองค์กร และทำงานเพื่อองค์กร พนักงานก็จะถามกลับมาทันทีว่า องค์กรทำอะไรให้เรารัก และเราจะรักไปทำไม  ถ้าเป็นแบบนี้ไม่มีทางที่จะเกิดความเป็นผู้ประกอบการได้เลย

ในตอนนี้เรามาคุยกันในส่วนของพนักงานล้วนๆ กันว่า พนักงานมีความเป็นผู้ประกอบการแล้วจะได้อะไรทำอย่างไรถึงจะมีความเป็นผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่

อย่างแรกคือความคิด (Mindset)

การที่คนเราคิดว่า เรามาทำงานให้ได้ตามเงินเดือนหรือเวลาที่กำหนด เริ่มต้นแบบนี้ก็ผิดแล้วนั่นหมายความว่าเรากำลังเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองแต่ในมุมของตัวเองก่อนมุมขององค์กร ดังนั้น คนที่จะเป็นผู้ประกอบการต้องทำตัวเองแบบนี้

  1. ความเป็นผู้ประกอบการเริ่มต้นด้วยเป้าหมาย ไม่ใช่เวลา คนที่คิดว่าเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ มีความพยายามทุกอย่างเพื่อให้ได้เป้าหมาย และรู้ว่าเป้าหมายนั้น มีความสำคัญอะไรกับตัวเอง ถ้าไม่รู้วหน้าก็ควรช่วยให้รู้หน่อย
  2. เมื่อรู้เป้าหมาย ก็มีความในการพัฒนาด้วยวิธีการใหม่ๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย เป็นนักนัวตกรรม ในการเป็นนวัตกรรมในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องการคิดสิ่งประดิษฐ์ แต่ขอแค่เป็นคนที่คิดวิธีการใหม่ๆ ไม่ยอมจำนนต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่
  3. เป็นคนที่ไม่คิดยึดติดกับความล้มเหลว แน่นอนหล่ะ คนที่ยึดติดกับความล้มเหลว จะไม่ยอมเดินต่อไปข้างหน้า แต่ผู้ประกอบการกลับมาว่า ความล้มเหลวคือบทเรียนที่มีค่า และเรียนรู้ว่าครั้งหน้าจะทำอะไรไม่ให้พลาดไปอีก
  4. เป็นคนที่คิดบวก รู้จักเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสถานการณืต่างๆ ไม่บ่น ไม่ว่า ไม่โทษคนอื่น แต่กลับมองเห็นความสวยงามของการทำงาน ความล้มเหลว และเรื่องเลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความเป็นจริง

อย่างที่สองคือการกระทำ (Action)

1. คนทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอย มีความรอบคอบ และครบถ้วน เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมาย อันนี้ต้องฝึก และใช้บ่อยๆ เรียกว่า เวลาได้รับงานอะไรมา ให้คิดเพิ่มเติมว่าเราต้องทำอะไรอีกให้สมบูรณ์ ทำอะไรก่อนหลัง และลงมือปฎิบัติตามนั้น

2. ลงมือด้วยภาวะผู้นำ หรือรู้ว่าต้องทำอย่างไรคนอื่นเค้าถึงจะทำตามที่เราอยากได้ รวมถึงต้องหยุดทำอะไรเพื่อให้คนอื่นเชื่อถือเราด้วย การเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ จะสามารถสร้างได้จาก 2 ส่วนคือ ส่วนส่วนที่เป็นการสร้างบารมีให้กับคนอื่น เป็นการช่วยเหลือ และอำนวยประโยชน์กับคนอื่น ส่วนที่เป็นอำนาจ คือการบังคับใช้ ด้วยกำลัง ข้อบังคับ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้คนอื่นทำตาม

3. รู้จักการปิดความเสี่ยงและกล้าที่จะเสี่ยง คนที่เป็นผู้ประกอบการมีความกล้า กล้าในการดำเนินการตามความคิดของตัวเองในการทำอะไรใหม่ๆ แต่ก็รู้วิธีการจัดการความเสี่ยงนั้นให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เสี่ยงแบบลุยเข้าไป เรียกอรีกอย่างว่าเป็นคนที่มีแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อยากได้

4. รู้จักหยิบจับสิ่งรอบตัวมาให้เกิดประโยชน์ รู้ว่าอะไรทำอะไรได้บ้าง รู้จักขอ รู้จักใช้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการประสมประสานงานต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาฐในอาชีพของตนเอง เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

จากทั้ง 2 ส่วน คนที่ฝึกบ่อยๆ จะมีความเป็นผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น คนเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นที่ต้องการขององค์กร และเมื่อพัฒนาต่อไปจะกลายเป็นคนที่มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) มากขึ้น แม้ว่าคนคนนั้นจะไม่ใช่เจ้าของจริง แต่คนเหล่านั้นจะเป็นคนที่กายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ากับองค์กร

สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าพนักงานยังถามว่า เราทำแล้วองค์กรจะให้อะไรกับเรา ปัญหานี้จริงๆ ไม่ใช่ปัญหาของพนักงาน แต่เป็นปัญหาขององค์กรที่จะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้อย่างไร

คนเก่ง จะเริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการ

ดร.นารา

Our Podcasts and VDOs เรื่องราวดี ที่เราอยากเล่าให้ท่านฟัง