6 ระบบการคิดของมนุษย์ 6 Thinking Systems of Human เมื่อมนุษย์ต้องคิดมากขึ้น หลังจากที่โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ได้มีเทคโนโลยีเกิดขึ้นมากมายที่มาช่วยให้มนุษย์ทำงานง่ายขึ้น แต่ในทางตรงกันข้าม ก็มาช่วยคิดแทนมุษย์มากยิ่งขึ้น อย่างในช่วงปลายปี 2022 ได้เกิด Chat GPT ขึ้นในรูปแบบที่ให้บุคคลทั่วไปใช้ได้ ทำให้คนทั้วโลกเกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ว่า จะมาคิดแทนมนุษย์ทั้งหมดในเวลาอันรวดเร็ว จริงๆ แล้ว เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ที่มีการคำนวน คิดวิเคราะห์ด้วย อัลกอลึทึมขั้นสูง ได้มานานแล้ว มาช่วยให้มนุษย์ทำงานได้ง่ายขึ้น จึงทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลข่าวสารมากขึ้น และต้องคิดมากขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจาก ระบบการคิดจำนวนมากถูกคอมพิวเตอร์ทำงานแทนไปหมดแล้ว ทำให้มนุษย์ต้องทำงานที่ใช้ความคิดที่มีความแยบคาย ซับซ้อน และสร้างสรรค์มากขึ้น
การคิดของมนุษย์ที่ต้องนำมาใช้งาน จะมีหลายๆ อย่างปนกันอยู่ ซึ่งการคิดเหล่านี้ จะเกิดขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว ในสมองอันชาญฉลาดของนุษย์ แต่อย่างไรก็ตาม การคิดเป็นสิ่งที่มนุษย์ชอบ และไม่ชอบในเวลาเดียวกัน การที่มนุษยชอบคิด เพราะมนุษย์ได้คิดได้ตอบ และสนุกกับการคิด เพื่อได้เรียนรู้ในสิ่งใหม่ให้กับตัวเองตลอดเวลา แต่สิ่งที่ไม่ชอบเนื่องจากการคิดก่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างน่าเหลือเชื่อ ซึ่งถ้ามนุษย์คิดอย่างหนักหน่วงทั้งวัน พลังงานที่มีอยู่ของมนุษย์จะไม่เพียงพอในการดำรงชีพ
ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีคือ สมองมนุษย์สามารถฝึกได้ตลอดชีวิต ดังนั้น หากเราฝึกคิดมากๆ ให้เกิดความชำนาญ สมองมนุษย์จะให้พลังงานน้อยลงในการคิด และสามารถคิดได้เร็วมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีเส้นใยประสาทที่เพิ่มมากขึ้นในสมองที่ต้องใช้คิด ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสมองส่วนหน้า ประเด็นคือมนุษย์ต้องฝึกคิดเรื่องที่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถคิดได้ เพื่อให้มนุษย์ยังสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ให้มาช่วยงานมนุษย์ได้ การคิดเหล่านี้ เป็นการคิดที่เชื่อมต่อกัน เป็นระบบการคิดของมนุษย์ที่มีความต้องการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงปี 2023-2027 ระบบการคิดเหล่านี้ เรียกว่าระบบการคิดเพื่อการหาความจริงและสร้างสรรค์วิธีการแก้ปัญหา ประกอบไปด้วย การคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) การคิดอย่างสร้างสรรค์ (Creative Thinking) การคิดอย่างมีตรรกะ และการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
การคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
การคิดเชิงวิเคราะห์ เป็นการคิดเพื่อการแยกแยะประเด็นต่างๆ ว่ามีกี่ประเด็นในเรื่องราวที่เกิดขึ้น เป็นพื้นฐานของการทำความเข้าใจของทุกสิ่ง เมื่อเราต้องการรู้จักอะไรที่ลึกซึ้ง เราต้องทำการวิเคราะห์สิ่งต่างๆ เหล่านั้นออกมาว่า มีกี่ประเด็น มีกี่องค์ประกอบ นอกจากนั้นแล้วยังสามารถจัดกลุ่มได้ว่า มีอะไรที่เหมือนกัน หรือแต่กต่างกัน ดังนั้น คนที่สามารถวิคเราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้ดี จะเป็นคนที่สามารถจับประเด็น เห็นประเด็น และรวมประเด็นเข้าด้วยกันได้เป็นอย่างดี มีเหตุผล ในการแยก และการรวมเข้าด้วยกัน สามารถอธิบายถึงเงื่อนไขการแยกประเด็นได้ดี
นอกจากการแยกประเด็นแล้ว การคิดเชิงวิเคราะห์ ยังรวมถึงการเปรียบเทียบประเด็นต่างๆ ว่า แต่ละประเด็นนั้น เท่ากัน หรือต่างกัน อะไรมามากกว่า อะไรน้อยกว่า ในเกณฑ์การวัดที่กำหนด และมีความสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อนำไปสู่งการพยากรณ์ หรือการสังเคราะห์สิ่งใหม่ๆ ออกมาในอนาคตหรือในลำดับต่อไป
การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking)
การคิดอย่างเป็นระบบ เป็นการต่อยอดของการคิดเชิงวิเคราะห์ เพื่อนำประเด็นต่างๆ ของการคิดเชิงวิเคราะห์ มาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน มีจุดเริ่มต้น และมีจุดสิ้นสุด โดยอาศัยความสัมพันธ์ของแต่ละประเด็น ซึ่งผู้คิดอาจจะใช้จากองค์ความรู้ที่มีอยู่ หรือแนวคิดทางทฤษฎีต่างๆ ที่มี ที่ได้ค้นคว้าวิจัย มาเป็นโครงสร้างในการเรียงร้อยประเด็นต่างๆ การคิดอย่างเป็นระบบ จะมีลักษณะที่สำคัญคือ มีลำดับขั้นของความคิดที่ชัดเจน มีจุดเริ่มต้น และมีจุดสิ้นสุด สามารถอธิบายได้ และมีความสอดคล้องกันในทุกๆ จุดของการคิด นั่นหมายความว่า เมื่อต้องมีการอธิบายซ้ำ สามารถอธิบายได้เหมือนเดิม มีความคงเส้นคงว่า และครบถ้วนในขบวนการคิดหรือการทำงานที่ต้องผ่านการคิด
การคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking)
การคิดเชิงวิพากษ์ คือการคิดให้ครบถ้วนในทุกแง่มุม เพื่อให้มั่นใจว่า การคิด การทบทวน และการพิจารณานั้น ได้ตระหนักถึงแง่มุมต่างๆ หรือโอกาสต่างๆ ที่จะเข้ามากระทบต่อสิ่งที่เรากำลังคิดได้ครบถ้วนแล้วจริงๆ เพื่อให้เราสามารถทำความเข้าใจ หรือกำหนดวิธีการในการจัดการ รับมือ หรือการแก้ไขปัญหาได้โดยไม่มีความเสียหายจากการตัดสินใจ หรือ ลดความเสียหายจากสิ่งที่คาดคิดไม่ถึงใหม่ที่สุด การคิดเชิงวิพากษ์ จึงเป็นการจำลองการคิดของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย เพื่อวิเคราะห์ประเด็น ที่จะมากรทบ รวมถึง การคิดภายใต้สถานการณ์ทุกๆ แบบที่ทำให้ผลลัพธ์เกิดการเบี่ยงเบนจากสิ่งที่ต้องการหรือคาดหวังไว้
การคิดเชิงวิพากษ์ ยังสามารถนำมาใช้กับการทำความเข้าใจ โดยมีการพิจารณาข้ามช่วงเวลาต่างๆ ได้อีก ซึ่งทำให้ค้นพบประเด็นต่างๆ ที่อาจจะหลงลืมไป การที่เราจะสามารถคิดได้ครบถ้วนนั้น จะต้องนำพื้นฐานการวิเคราะห์มาแยกยแะประเด็น และเพิ่มเติมในแง่มุมต่างๆ แล้วนำประเด็นที่แตกต่างกันในแง่มุมต่างๆ มาวิเคราะห์อีกครั้งหนึ่ง
การคิดเชิงสร้างสรร (Creative Thinking)
การคิดเชิงสร้างสรร เป็นการพัฒนาความคิดที่เกิดหลังจาาการคิดเชิงวิเคระห์ เพื่อให้เกิดแนวคิดคิดใหม่ การที่แนวคืดใหม่จะกลายเป็นความคิดสร้างสรรได้ ต้องประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ความคิดที่แตกต่าง และ ความคิดนั้น ต้องมีประโยชน์ การคิดเชิงสร้างสรรเป็นการสร้างความคิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน หรือ ไม่เคยคิดวิธีนี้มาก่อน ซึ่งจะใช้ในการแก้ปัญหา การสร้างกลยุทธ์ และสร้างสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ นอกจากนั้น ยังรวมไปถึงการแปลความหมายจากข้อมูล
ทักษะพื้นฐานที่สำคัญของการคิดสร้างสรรคือการฝึกการใช้จินตนาการ และความกล้า หมายความว่า ต้องมีจินตนาการเพื่อให้สมองได้ทำงานในพื้นที่ความคิดที่ยังไม่มีอยู่จริง ในเวลาที่คิด แต่เป็นการจำลองความเหตุการณ์ในความคิดขึ้นมาก ส่วนความกล้า หมายถึง กล้าที่จะคิด เชื่อว่า เราสามารถคิดอะไรที่แตกต่างกว่า ดีกว่าปัจจุบันได้ แล้วเมื่อคิดแล้วต้องกล้าที่จะนำเสนอให้คนอื่นได้รับรู้ถึงความคิดสร้างสรรที่เกิดขึ้นด้วย
การคิดเชิงตรรกะ (Logical Thinking)
การคิดเชิงตรระกะคิดรูบแบบการคิดที่ที่ไล่เรียงเหตุผลจนมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งต้องอาศัยองค์ประกอบด้วยกัน 3 อย่างคือ บริบทที่ใช้คิด หลักการที่ใช้คิด และ เกณฑ์การวัดเหตุการณ์ว่าเป็นสิ่งนั้นจริง การคิดเชิงตรรกะต้องอาศัยทั้ง การฝึกฝน และความรู้ประกอบกัน เพื่อให้สิ่งที่ต้องการอธิบาย หรือ สร้างสรรค์ออกมามีความน่าเชื่อถือ ไม่ฟุ้งซ่าน หรือ ไม่สามารถยอมรับได้ เพราะขาดความเชื่อมโยงกันในความคิดและหลักฐานที่ปรากฎชัดแจ้ง
โดยส่วนมากแล้วการคิดเชิงตรรกะ เป็นการโน้มน้าวให้คนอื่นยอมรับและเชื่อว่า คิดที่คนหนึ่งคิดนั้น เป็นความจริง ไม่ใช่เกิดจากการมโนสำนึก หรือจินตนาการแบบไม่อยุ่ในพื้นฐานความเป็นจริง ผู้ที่จะคิดเชิงตรรกะในบริบทใดๆ จำเป็นที่จะต้องมีชุดความรู้ที่ยอมรับ หรือ ประสบการณ์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วในบริบทนั้นๆ และสามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับเหตุการจริงได้
การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
กลุยทธ์ หมายถึง วิธีการให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ การคิดเชิงกลยุทธ์ หมายถึงการคิดที่เรียงร้อยเหตุและผล เรียงร้อยลำดับการเกิดเหตุการณ์เมื่อลงมือทำอะไรบางอย่างเพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ ผู้ที่สามารถคิดเชิงกลยุทธ์ได้ จะสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องอย่างต้องการได้อย่างมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่า รวมถึงสามารถนำไปสู่การสร้างการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนา การแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
การคิดเชิงกลยุทธ์ ต้องอาศัยระบบการคิดทั้ง 5 รูปแบบก่อนหน้ามารวมไว้เป็นเรื่องเดียวกัย ตั้งแต่การวิเคราะห์สถานการณ์และความต้องการ การเรียงร้อยให้เป็นระบบ การคิดให้ครบถ้วน ไม่ขาดตกบกพร้อม สร้างวิธีการใหม่ๆได้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผลที่เป็นตรรกะชัดเจน เหมือนการบูรณาการการคิดเข้าด้วยกันที่ด้าน เพื่อออกวิธีการใหม่ๆ ให้บรรลุถึงสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้นในอนาคต
คนที่จะสามารถสร้างระบบการคิดแบบบูรณาการไปสู่กลยุทธ์ได้นั้น ต้องอาศัยการฝึกฝน เพื่อให้สามารถเพิ่มระดับความคิด การและใช้ศักยภาพของสมองให้ออกมาในรูปแบบต่างๆ ที่ต้องการ รวดเร็ว และครบถ้วน โดยเฉพาะในยุคที่ข้อมูล ข่าวสาร เรื่องราวและการเชื่อมโนงระหว่าวบุคคลที่เพิ่มสูงขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น การคิดยิ่งต้องใช้ความซับซ้อนมากขึ้น มีความเข้าใจมากขึ้น และใช้การเรียบเรียงที่ชัดเจนมากขึ้นเรื่อยๆ คนที่สามาถบูรณาการทุกเรื่องเข้าด้วยกันได้ จะเป็นคนที่สังคมยุคใหม่ต้องการ