ว่ากันด้วยผู้นำ เป็นประเโ้นที่กำลังกล่าวถึงมากในตอนนี้ แต่จริงๆ แล้วก็กล่าวถึงมานานแล้วด้วย เพราะการที่โครงสร้างทางสังคม ทางธุรกิจของเรามีความซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น คนรับรู้ข้อมูลต่างๆ ได้มากขึ้น และง่ายขึ้น สถานการณ์ต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น องค์กรก็มีความคาดหวังต่อพนักงานให้สร้างผลงานและคุณค่าให้กับองค์กรมากขึ้น ตามการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
ดูจะเป็นสิ่งที่ย้อนแย้งกันอยู่เอาเรื่องทีเดียว แน่นอนว่าจะต้องมีคนมาเชื่อมโยง และจูงใจให้ทุกคนร่วมกันเป็นหนึ่งแล้วให้ทำงานจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ คนนั้นใครๆ ก็รู้จักกันเรียกว่า ผู้นำ แต่ผู้นำที่จะมีความสามารถในการจูงใจ ทำให้คนเชื่อถือ และยอมทำตามได้ เรียกว่า ภาวะผู้นำ
คำถามหลักๆ คือว่า แล้วภาวะผู้นำสร้างขึ้นมาอย่างไร สิ่งนี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ต่างๆ แต่อย่างน้อย ก็เป็นส่วนผสมของปัจจัย 2 อย่าง นั่นคือ อำนาจ และบารมี
ผู้นำแบบอำนาจ หมายถึง คนที่ใช้อำนาจที่ตัวเองได้รับ หรือ Authority ตัวอย่างเช่น อำนาจในการอุมัติวงเงิน อำนาจในการประเมิน ซึ่งอำนาจพวกนี้ ไม่ได้เป็นอำนาจที่สร้างขึ้นมาเอง เพียงแต่ได้รับมอบหมายให้ใช้อำนาจแทนเจ้าของธุริจ หรือเจ้าของอำนาจที่แท้จริง บางครั้งอำนาจอาจจะมาอยู่ในรูปของความรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงทางร่างกาย เช่นการลงไม้ลงมือ ความรุนแรงทางวาจา เช่นการด่า ตะคอก หรือให้เสียดสี บูลลี่ รวมถึงความรุนแรงทางด้านจิตใจ เช่น การให้ในสิ่งที่ไม่ชอบหรือกลัว ทำให้รู้สึกแย่ ว้าเหว่ หดหู่ รวมถึงการใช้กฎระเบียบหรือกฎหมายมาบังคับ
ผู้นำแบบอำนาจ จะใช้ความกลัวเป็นตัวตั้ง ทำให้คนอื่นกลัวว่าจะได้รับผลไม่ดี ถ้าไม่ทำตาม ผู้คนจะทำตามเรื่อยๆ จนวันหนึ่งเกิดเสื่อมอำนาจ ใช้แล้วคนไม่กลัว ภาวะผู้นำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ สั่งอะไรก็ไม่มีใครทำตาม ก็ถึงจุดอันตรายของผู้นำคนนั้น
แบบที่ 2 ผู้นำแบบบารมี
การสร้างบารมีเป็นการสร้างคุณงามความดี การสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่นเรื่อยๆ ต้องอาศัยการสะสมความรู้สึกและภาพจำ จนคนทั่วไปรู้สึกเกรงใจ การสร้างบารมีเริ่มต้นด้วยการช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ให้กับคนรอบข้าง การให้ความรู้ การให้การช่วยเหลือ การให้เงินหรือทรัพยากร การให้กำลังใจ การให้ความเข้าใจ การให้การยอมรับ และอีกมากมายที่ทำให้คนมีกำลังใจ มีความสุข
ผู้นำแบบบารมีจำเป็นต้องใช้เวลา ไม่เห็นผลในทันที ต้องรอการพิสูจน์ว่าดีจริงหรือไม่ แต่เมื่อใดที่ได้ระดับของบารมีที่สะสมแล้ว คนจะเกรงใจ มากกว่าเกรงกลัว เป็นคนที่มีอำนาจอย่างประหลาด แค่พูดเบาๆ คนก็ทำตาม เป็นลักษณะ Soft Power
เมื่อเราเปรียบเทียบการสร้างภาวะผู้นำก็เหมือนกับเงินออม จะช่วยทำให้เราเข้าใจภาพได้ง่ายขึ้น
ผู้นำแบบบารมี เป็นเหมือนการสะสมเงินเอาไว้ เก็บเอาไว้เยอะๆ คนที่มีเงิน ก็จะมีดูมีบารมีทันที
ผู้นำแบบอำนาจเหมือนกับการถอนเงินออกมาใช้ ทุกครั้งที่ใช้ เท่ากับการเอาบารมีเก่าออกมา ใช้มากเกินไป เงินหมด จนพอดี
ในการเก็บเงิน เราก็บอย่างเดียวมากเกินไป ไม่ใช้เงินเลย เค้าเรียกว่าคนตระหรี่ ขี้เหนียว งก ไม่มีใครอยากคบ ซึ่งคนที่ใช้บารมีมากๆ จะดูเป็นผู้นำที่อ่อนแอ ไม่กว่าตัดสินใจให้โทษใคร มีแต่สร้างคุณ ผู้นำแบบนี้ จะดีในกรณีที่องค์กรอยู่ในสภาวะปกติ แต่จะไม่ดีกับองค์กรที่เกิดสภาวะผิดปกติ
สำหรับคนที่มีเงินมากแล้วได้ใช้ไปบ้างเพื่อให้เกิดประโยชน์ จะยิ่งเป็นการเสริมบารมีให้ดูดีขึ้น เหมือนกับคนที่รู้ว่า เวลาไหนที่ต้องสร้างคุณประโยชน์ให้กับคนอื่น และเวลาไหนที่ต้องตัดสินใจ ใช้ความเด็ดขาดและอำนาจให้กับปัญหาที่เกิดขึ้น จากนั้นก็รีบสร้างบารมีมาชดเชยกับการใช้อำนาจไป แบบนี้จะเรียกว่าเป็นสุดยอดของผู้นำ
ทั้งหมดนี้จึงเป็นศิลปะ ในการเป็นผู้นำ รู้ว่าเวลาไหนต้องใช้อำนาจ หรือ บารมี ไม่มีสูตรตายตัว มีแต่การใช้สติ และปัญญาเท่านั้น ที่ผู้นำต้องเรียนรู้และวิเคราะห์ว่า แต่ละวันจะใช้อะไรเท่าไหร่ และอย่างไร