ตอนนี้มาว่ากันถึงในส่วนที่เป็นพนักงานบ้าง เพราะเมื่อเจ้าของได้ไว้วางใจทีมงานไปแล้ว ทางพนักงานก็ต้องไว้วางใจเจ้าของด้วยเช่นกัน ถึงจะทำให้องค์กรมีความเป็นผู้ประกอบการขึ้นมาได้ทั้งหมด
มีคำถามบ่อยมากว่า ทำอย่างไรให้พนักงานรักองค์กร และทำงานเพื่อองค์กร พนักงานก็จะถามกลับมาทันทีว่า องค์กรทำอะไรให้เรารัก และเราจะรักไปทำไม ถ้าเป็นแบบนี้ไม่มีทางที่จะเกิดความเป็นผู้ประกอบการได้เลย
ในตอนนี้เรามาคุยกันในส่วนของพนักงานล้วนๆ กันว่า พนักงานมีความเป็นผู้ประกอบการแล้วจะได้อะไรทำอย่างไรถึงจะมีความเป็นผู้ประกอบการได้อย่างเต็มที่
อย่างแรกคือความคิด (Mindset)
การที่คนเราคิดว่า เรามาทำงานให้ได้ตามเงินเดือนหรือเวลาที่กำหนด เริ่มต้นแบบนี้ก็ผิดแล้วนั่นหมายความว่าเรากำลังเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง มองแต่ในมุมของตัวเองก่อนมุมขององค์กร ดังนั้น คนที่จะเป็นผู้ประกอบการต้องทำตัวเองแบบนี้
- ความเป็นผู้ประกอบการเริ่มต้นด้วยเป้าหมาย ไม่ใช่เวลา คนที่คิดว่าเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ มีความพยายามทุกอย่างเพื่อให้ได้เป้าหมาย และรู้ว่าเป้าหมายนั้น มีความสำคัญอะไรกับตัวเอง ถ้าไม่รู้วหน้าก็ควรช่วยให้รู้หน่อย
- เมื่อรู้เป้าหมาย ก็มีความในการพัฒนาด้วยวิธีการใหม่ๆ ให้ได้ตามเป้าหมาย เป็นนักนัวตกรรม ในการเป็นนวัตกรรมในที่นี้ ไม่จำเป็นต้องการคิดสิ่งประดิษฐ์ แต่ขอแค่เป็นคนที่คิดวิธีการใหม่ๆ ไม่ยอมจำนนต่อสถานการณ์ที่เป็นอยู่
- เป็นคนที่ไม่คิดยึดติดกับความล้มเหลว แน่นอนหล่ะ คนที่ยึดติดกับความล้มเหลว จะไม่ยอมเดินต่อไปข้างหน้า แต่ผู้ประกอบการกลับมาว่า ความล้มเหลวคือบทเรียนที่มีค่า และเรียนรู้ว่าครั้งหน้าจะทำอะไรไม่ให้พลาดไปอีก
- เป็นคนที่คิดบวก รู้จักเห็นประโยชน์ที่เกิดขึ้นในสถานการณืต่างๆ ไม่บ่น ไม่ว่า ไม่โทษคนอื่น แต่กลับมองเห็นความสวยงามของการทำงาน ความล้มเหลว และเรื่องเลวร้ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น บนพื้นฐานของความเป็นจริง
อย่างที่สองคือการกระทำ (Action)
1. คนทำงานอย่างเป็นระบบ ต้องมีเหตุผล เป็นขั้นเป็นตอย มีความรอบคอบ และครบถ้วน เพื่อให้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตอบสนองต่อเป้าหมาย อันนี้ต้องฝึก และใช้บ่อยๆ เรียกว่า เวลาได้รับงานอะไรมา ให้คิดเพิ่มเติมว่าเราต้องทำอะไรอีกให้สมบูรณ์ ทำอะไรก่อนหลัง และลงมือปฎิบัติตามนั้น
2. ลงมือด้วยภาวะผู้นำ หรือรู้ว่าต้องทำอย่างไรคนอื่นเค้าถึงจะทำตามที่เราอยากได้ รวมถึงต้องหยุดทำอะไรเพื่อให้คนอื่นเชื่อถือเราด้วย การเป็นคนที่มีภาวะผู้นำ จะสามารถสร้างได้จาก 2 ส่วนคือ ส่วนส่วนที่เป็นการสร้างบารมีให้กับคนอื่น เป็นการช่วยเหลือ และอำนวยประโยชน์กับคนอื่น ส่วนที่เป็นอำนาจ คือการบังคับใช้ ด้วยกำลัง ข้อบังคับ หรืออะไรก็แล้วแต่ให้คนอื่นทำตาม
3. รู้จักการปิดความเสี่ยงและกล้าที่จะเสี่ยง คนที่เป็นผู้ประกอบการมีความกล้า กล้าในการดำเนินการตามความคิดของตัวเองในการทำอะไรใหม่ๆ แต่ก็รู้วิธีการจัดการความเสี่ยงนั้นให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการด้วยเช่นกัน ไม่ใช่เสี่ยงแบบลุยเข้าไป เรียกอรีกอย่างว่าเป็นคนที่มีแผนสำรอง ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่ไม่อยากได้
4. รู้จักหยิบจับสิ่งรอบตัวมาให้เกิดประโยชน์ รู้ว่าอะไรทำอะไรได้บ้าง รู้จักขอ รู้จักใช้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เกิดการประสมประสานงานต่างๆ เข้าด้วยกันเป็นงานใหม่ขึ้นมา ซึ่งต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาฐในอาชีพของตนเอง เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
จากทั้ง 2 ส่วน คนที่ฝึกบ่อยๆ จะมีความเป็นผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น คนเหล่านี้ ก็จะกลายเป็นที่ต้องการขององค์กร และเมื่อพัฒนาต่อไปจะกลายเป็นคนที่มีความเป็นเจ้าของ (Ownership) มากขึ้น แม้ว่าคนคนนั้นจะไม่ใช่เจ้าของจริง แต่คนเหล่านั้นจะเป็นคนที่กายเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ากับองค์กร
สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ถ้าพนักงานยังถามว่า เราทำแล้วองค์กรจะให้อะไรกับเรา ปัญหานี้จริงๆ ไม่ใช่ปัญหาของพนักงาน แต่เป็นปัญหาขององค์กรที่จะรักษาคนเหล่านี้ไว้ได้อย่างไร
คนเก่ง จะเริ่มต้นจากการเป็นผู้ประกอบการ
ดร.นารา