การจัดการเวลากลายเป็นปัญหาใหญ่ในโลกที่มีแต่ความสับสนวุ่นวาย
เราคงต้องมายอมรับมันก่อนว่าในทุกวันนี้เรามีงานและมีเรื่องที่ต้องจัดการมากกว่าสมัยก่อนเมื่อ 100 ปีที่แล้วเป็นจำนวนมาก หลายเท่าตัว
แต่ว่าเวลาของเรายังคงอยู่ที่ 24 ชั่วโมงเท่าเดิม มิหนำซ้ำเรายังมีสื่อช่องทางที่จะเข้ามาติดต่อหาเราเป็นจำนวนเพิ่มมากินขึ้นตั้งแต่โทรทัศน์ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ ซึ่งทำให้เราต้องใช้เวลาในการบริโภคข้อมูลเหล่านั้นและจัดการข้อมูลเหล่านั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นไปอีก
ปัญหาของการจัดการเวลาจึงตามมาเพราะเราไม่สามารถที่จะเอางานที่เกิดขึ้นยัดใส่ในเวลาที่เท่าเดิมได้ หากเราต้องการทำทุกอย่างเหมือนเดิมในเวลาที่เท่าเดิมแต่งานเพิ่มขึ้นนั่นแปลว่าเรากำลังเข้าใจผิดอะไรบางอย่าง
เทคนิคการจัดการเวลาจริงๆแล้ว มันเป็นเรื่องของการจัดการจิตใจและการจัดการงานภายใต้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดและไม่เคยหวนกลับมา
อย่างแรกเลยในการจัดการเวลาคือเราต้องดูก่อนว่า
*งานที่เราต้องทำมีอะไรบ้าง
*งานที่เราต้องทำต้องทำอย่างไรบ้างใช้เวลาเท่าไหร่
*งานที่เราต้องทำสามารถให้ใครหรือมีเครื่องมือตัวช่วยอะไรมาช่วยเราได้บ้าง
*งานอะไรที่เรายังไม่ต้องทำและไม่ควรทำ
เมื่อเราเข้าใจธรรมชาติของงานเราก็จะรู้ได้แล้วว่างานที่เกิดขึ้นนั้นเราจะใช้เวลาเท่าไหร่ในเวลาแต่ละวันเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะเวลามันมีจำกัดงานจึงต้องพอดีกับเวลา
**สิ่งที่ต้องไม่ลืมคือชีวิตเราไม่ได้มีแต่งานแต่ชีวิตของเรามีทั้งงานและเรื่องส่วนตัวเราจะรักษาความสมดุลย์ของตัวเราเอาไว้ได้อย่างไรทำงานเท่าไหร่ให้พอดีพักผ่อนเท่าไหร่ให้พอดีแล้วเอาชีวิตของเราไปช่วยสังคมให้ดียิ่งขึ้นด้วย
เมื่อเราวางแผนปริมาณงานที่ใส่ลงไปในเวลาได้แล้วสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ปริมาณงานลงในเวลาได้อย่างดีคือการจัดการใจ
การจัดการใจ หมายความว่า
#ใจเราต้องเข้มแข็งกว่าความอยาก
*เราต้องทำให้ใจเรารู้ว่าควรจะเริ่มทำอะไร
*เราต้องทำให้ใจเรารู้ว่าควรจะหยุดทำอะไร
เมื่อเราเอาสองสิ่งนี้คือการจัดการงานบวกกับการจัดการใจเราก็จะพบว่าแม้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดเราก็สามารถที่จะจัดงานลงไปในเวลาโดยใช้เครื่องหมายเครื่องมือหรือผู้ช่วยให้เราทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้นและที่สำคัญไปกว่านั้นคือใจของเราจะเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นซึ่งทำให้เราสามารถจัดการเวลา 24 ชั่วโมงต่อวันได้อย่างสมดุลย์
ดร.นารา กิตติเมธีกุล