ปั้นคนเก่ง EP#33 ปัญหาว่าด้วยการกำหนดค่าแรง

นับว่าเป็นปัญหาโลกแตก ปัญหาไม้เบื่อไม้เมาสำหรับธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก เนื่องจากค่าแรงถึงว่าเป็นต้นทุนคงที่ (โดยส่วนใหญ่) ของกิจการที่มีความเฉพาะเนื่องจาก หาความเป็นมาตรฐานได้ยาก มีความผูกพันที่ต้องจ่ายทุกเดือน และลงเลิกใช้ง่ายๆ ไม่ได้ เนื่องจากมีกฎหมายรองรับในการดูแลลูกจ้าง

#มุมมองที่ย้อนแย้งกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง

ด้านของนายจ้าง

โดยทั่วไปนายจ้างมีความต้องการจ้าลูกจ้างมาเพื่อช่วยงานในกิจการของตัวเองที่ทำคนเดียวไม่ไหว ต้องการหลายๆ คน หลายๆ ความรู้มาทำงานแทนตัวเอง เป็นหลักพื้นฐานที่สุดของการจ้างแรงงาน แต่ว่า การจ้างแรงงานหลายคนกลับเข้าใจผิดว่า ต้องจ้างด้วยค่าแรงต่ำๆ เพื่อให้ได้กำไรมากๆ

แต่ก็มีนายจ้างอีกหลายๆ คนที่มีความคิดที่ต่างออกไป คือ จ้างเงินเดือนแพงๆ เพื่อให้ได้คนเก่งๆ มาอยู่กับธุรกิจและจะได้เป็นแรงจูงใจในการอยู่ต่อ ซึ่งเรื่องนี้ก็มีความเสี่ยงว่า ถ้าลูกจ้างคนนั้น ไม่สามารถปฏิบัติงานได้ตามที่ต้องการจะกลายเป็นต้นทุนที่ไม่คุ้มค่า

สำหรับนายจ้างที่มีลูกจ้างที่มีฝีมือแล้วจงดูแลพวกเขาให้ดี เพราะคนเหล่านี้จะเป็นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญของการทำงานและการพัฒนาธุรกิจ

แล้วนายจ้างต้องทำอย่างไร หละถึงจะจัดการกับปัญหานี้ได้

  • ทำความเข้าใจว่าคนที่มาทำงาน เป้าหมายหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องของเงินเดือนหรือค่าจ้าง ถ้านายจ้างไม่จ่ายค่าจ้าง เค้าก็ไม่รู้ว่าจะมาทำงานอย่างไร
  • หาวิธีวัดมูลค่าของงานให้ได้เพื่อกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสม ซึ่งมีหลายแนวคิ เช่น แนวคิดเรื่องการทดแทร ถ้าไม่มีลูกค้าแล้ว เราต้องทำงานนั้นเอง เราคิดค่าแรงตัวเองเท่าไหร่เอามาเป็นพื้นฐานในการพิจารณา หรือ แนวคิดเรื่องการเพิ่มขึ้นของรายได้ เช่น เมื่อมีลูกจ้างคนนี้แล้ว ทำให้รายได้เพิ่มขึ้นเท่าไหร่ เอามาเป็นฐานในการพิจารณา
  • เลือกคนที่ทัศนคติที่เข้ากันได้กับนายจ้าง เพราะคนที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกันจะทำงานด้วยกันยาก ถ้าเริ่มต้นแล้วคุยกันไม่รู้เรื่องอย่าทำงานเสียดีหว่า ซึ่งส่วนนี้ อาจจะได้จากทดลองงาน การให้แสดงพฤติกรรมอะไรก่อนที่จะเป็นการจ้างงานเต็มรูปแบบ หรือ รับนักศึกษาฝึกงานด้วย
  • พึงระลึกไว้ว่าค่าจ้างแพงๆ ไม่ใช่แรงจูงใจทั้งหมดของลูกจ้าง แต่การแสดงถึงภาวะผู้นำและการเอาใจใส่ดูแลกลับสามารถรักษาคนเก่งเอาไว้ได้บนค่าจ้างที่พวกเขาอยู่ได้และเหมาะสม

ด้านของลูกจ้าง

แน่นอนว่าเงินเดือนแพงๆ ค่าจ้างสูงๆ ใครก็อยากได้ ซึ่งแน่นอนว่า ค่าจ้างแพงต้องแลกมาด้วยมูลค่างาน ปัญหาอยู่ที่ว่า การทำงานที่หลายคนคิดว่าแพง วัดกันที่ค่าความเหนื่อยมากกว่าวัดกันที่ค่าของเนื้องานที่แท้จริง การทำงานแบบเอาแรงเข้าแรก แต่ได้มูลค่าน้อย ลูกจ้างจำนวนมากบอกว่า ไม่คุ้มค่า ซึ่งก็จริง ไม่คุ้มกับความเหนื่อยที่หายไป ซึ่งลูกจ้างมีทางเลือกได้ 2 ทางคือ หางานที่มีการจ่ายค่าแรงเพิ่มขึ้น หรือ ทำงานให้ใช้แรงน้อยลงแต่ได้งานเท่าเดิม

ปัญหาอีกเรื่องหนึ่งของลูกจ้างคือ ปัญหาด้วยรักแต่ไม่เข้าใจ เป็นเสียงบ่นมากมายว่า ค่าจ้างถูกๆ แต่ให้ทำงานหนักๆ ช่วยจ่ายค่าจ้างแพงๆ ก่อนได้มั้ย จะทำงานให้หนักขึ้น อันนี้น่าจะเป็นแนวทางที่ยังไม่เหมาะสมเท่าไหร่นัก เพราะนายจ้างก็จะถามกลับมาว่า ถ้าจ่ายให้แล้วไม่ได้ผลงานตามที่ตั้งไว้จะให้ทำอย่างไร เงินเดือนก็ลดไม่ได้ ไล่ออกก็ลำบาก เป็นความเสี่ยงของนายจ้าง แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็ยังทำงานกันต่อไป ด้วยรักแต่ไม่เข้าใจ

วิธีการแก้ปัญหา

  • ลูกจ้างพัฒนาตัวเองตลอดเวลาให้รู้ว่าเราต้องเก่งอะไรเพิ่มขึ้น เลิกเอาแรงเข้าแลก แต่เอาประสิทธิภาพเข้าสู้
  • มีความคิดเชิงบวก ถ้าไม่ได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับองค์กรนี้ องค์กรอื่นย่อมเห็นคุณค่าแน่นอน เรายังมีที่ไปเสมอ
  • เวลาทำงาน ให้ทำอย่างเต็มที่ลืมเรื่องเงินไว้ก่อน เพราะเดี๋ยวเงินจะตามมาเอง

ปัญหาโลกแตกเรื่องการกำหนดค่าจ้าง เป็นเรื่องที่ต้องปรับเข้าหากันของทั้งลูกจ้างและนายจ้าง ไม่มีใครที่ต้องปรับเข้าหากันอย่างเดียว และสุดท้ายคือการออกแบบระบบงานทำงานและการวัดผลการทำงานที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท เพื่อให้ทุกฝ่ายรู้ว่าตัวเองได้รับความยุติธรรมทั้งค่าจ้างและผลงาน

ดร. นารา กิตติเมธีกุล

SHARE THIS