เวลาเราขายของแล้วดูเหมือนจะมีกำไร แต่พอหักค่าใช้จ่ายเข้าจริงๆ แล้วพบว่าขาดทุน หรือมีกำไรน้อยกว่าที่คาดการณ์เอาไว้เยอะเลย นั่นแสดงว่าต้องมีบางอย่างที่ผิดพลาด โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายที่เราคาดการณ์ไม่ถึง และสิ่งนี้เราเรียกว่าต้นทุนที่มองไม่เห็น ไม่เห็นยังไง
ไม่เห็นตอนที่ทำหรือวางแผน แต่มาโผล่ตอนจ่ายเงิน แบบนี้ก็เดือนร้อน ปัญหานี้เกิดจาก 2 สาเหตุใหญ่ๆ คือ
1. ไม่มีประสบการณ์ ไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับการทำงานในธุรกิจนี้ ทำให้เกิดต้นทุนที่มองไม่เห็นจากการไม่มีประสบการณ์
2. มีความซับซ้อนของธุรกิจสูงจนต้นทุนบางอย่างมีความทับซ้อนกันแยกไม่ออกและเกิดการใช้จ่ายที่ไม่มีประสิทธิภาพโดยไม่รู้ตัว จึงเกิดต้นทุนที่มองไม่เห็นได้เช่นเดียวกัน
บทความนี้จะอธิบายแบบแรกก่อนเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน โดยเฉพาะองค์กรที่มีความซับซ้อนสูง ยิ่งสับสนสูง หากว่า เราเข้าใจว่าในการทำธุรกิจของเราต้องจัดการอย่างไรทีละส่วนได้ เมื่อเราเอามารวมกันก็จะสามารถทำความเข้าใจและจัดการได้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะเราสามารถคิดแะลตัดสินใจได้ทีละเรื่อง เราจึงไม่ควรเอาทุกอย่างมาจัดการพร้อมกัน เพรามันจะไม่ได้ผล
#มองหาต้นทุนที่มองไม่เห็น
ต้นทุนที่มองไม่เห็นไม่สามารถมองด้วยตาเนื้อ แต่มองด้วยตา (ใส่) ใจ ใส่ใจในขั้นตอนและกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา เราต้องดึงรายการกิจกรรมทั้งหมด ต้องแต่การผลิต การเคลื่อนย้าย การเก็บรักษา การวาง รวมไปถึงกระดาษชิ้นเล็กๆ ที่ต้องเอามาใช้ เพราะทุกอย่างเป็นต้นทุน ถ้าเราเริ่มใส่ใจตรงนี้ จะทำให้รู้ว่าต้นทุนในการดำเนินตามกิจกรรมตามปกติอยู่ที่ไหนบ้าง เป็นต้นทุนเท่าไหร่ อะไรเป็น Fixed Cost และอะไรเป็น Variable Cost
นอกจากเราใช้ตาใจแล้ว เรายังต้องใช้ตาทิพย์อีก มองหาสิ่งที่เราไม่อยากให้เกิดแต่มันจะเกิดขึ้นได้ เช่นเรื่องของอุบัติเหตุ เรื่องการแข่งกันลดราคา การถล่มโปรโมชั่น เป็นต้น สิ่งเหล่านี้มักจะไม่ค่อยอยู่ในแผนของการดำเนินงานเท่าไหร่ พอเกิดขึ้นแล้ว เราจะกลายเป็นสภาวะตกใจ จึงทำให้ต้องรีบดำเนินการอะไรบางอย่างจนลืมไปว่า สิ่งที่ทำอยู่นี้ เราทำแล้วได้อะไร เช่น เห็นคนเค้าลดราคา เราก็รีบลดราคาตามไปบ้าง โดยลืมไปว่า ต้นทุนของแต่ละคนไม่เท่ากัน เราเห็นแต่ว่า ต้นทุนฝันแปรเราได้ ก็ขายเลย แต่ลืมเงินเดือนพนักงาน ค่าน้ำค่าไป และค่าอื่นๆ จิปาถะ สิ่งที่เราลดราคานั่นแหละคือต้นทุนที่มองไม่เห็น
#แก้ยังไงดี
ขั้นตอนที่ 1 นอกจากการใช้ตามองแล้ว เราต้องใช้สมองคิดเผื่อไปด้วย ในการธุรกิจสิ่งที่สำคัญมากคือส่วนต่างราคาที่จะกันสำรอไว้เป็น Buffer (กันชน) ในเวลาวิกฤติ เช่น ราคาขาย 100 ต้นทุน 50 หักค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วเฉลี่ยอีก 20 เรากำไร 30 ใช่หรือไม่ ตอบเลยว่า ไม่ใช่ เพราะต้องต้องกันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้ประมาณ 5-10% หรือมากกว่านั้น ถ้างานมีความเสี่ยงสูง หรือมีความผันผัน หรือ แข่งขันกันสูง เพื่อเอาส่วนนี้มาช่วยจัดการในช่วงเวลาที่ยากลำบาก เงินก่อนนี้ ถึงเวลาที่ต้องใช้ จะเหมือนมีเทวดาลงมาช่วย เช่น คนงานเกิดอุบัติเหตุต้องไปทำการรักษาพยาบาล ดังนั้น เมื่อมีเงินสำรองยามฉุกเฉิน ซึ่งเป็นต้นทุนที่มองไม่เห็น ก็จะช่วยทำให้ธุรกิจไม่ขาดเงินสดในมือ และมีเงินที่สามารถดำเนินการตามปกติได้ต่อไป
ขั้นตอนที่ 2 จดบันทึกรายการเงินสดทั้งหมด เพื่อให้รู้ว่า ในการดำนินงานนั้น เกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจ เพื่อทำเป็นประวัติของต้นทุน โดยเก็บทุกรายละเอียด ย้ำว่าเก็บทุกรายละเอียด เมื่อเราจดบันทึกไประยะหนึ่งแล้ว เราจะเริ่มเรียนรู้ว่า มีต้นทุนอะไรบ้างที่ใช้เป็นประจำ อะไรนานามาที ต้นทุนแต่ละส่วนใช้เท่าไหร่ ถึงตรงนั้น เราจะเข้าใจมากขึ้น แต่ถ้าเราไม่จด ใช้แต่จำ เดี๋ยวก็หมด แล้วเราก็ลืม สุดท้าย เราก็ประมาณการไม่ถูกว่าต้นทุนที่มองไม่เห็นเป็นเท่าไหร่กันแน่
ต้นทุนที่มองไม่เห็น เป็นปัญหา เป็นฝันร้ายของใครหลายๆ คนที่เกิด สุดท้ายก็ขาดทุน หรือหาคำตอบไม่ได้เงินสดหายไปไหนหมด เราต้องมองเห็ฯต้นทุนก่อนที่มันจะซ่อนตัวด้วยการใส่ใจ และจดบันทึกในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน
ดร.นารา กิตติเมธีกุล