ประเทศไทย อิสราเอล เกาหลี และ 500,000 (ล้าน) บาท

จากเหตุการณ์ของแรงงานไทยไปประเทศอิสราเอลจำนวนมากหลักลายหมื่นคน เป้าหมายของแรงงานเหล่านี้ ต่างมุ่งหวังว่า จะไปได้รายได้ค่าแรงเพื่อไปทำงานในภาคการเกษตรของประเทศอิสราเอลหลักแสนบาทต่อเดือน ในขณะที่เหตุผลของประเทศอิสราเอลบอกว่า แรงงานไทยมีฝีมือในภาคการเกษตรจึงเหมาะสมกับการจ้างงาน

นั่นแสดงว่า คุณภาพของแรงงานไทยมีคุณภาพที่ดีในสายตาของชาวโลก แต่ทำไม พวกเขา ไม่สามารถหารายได้ในประเทศไทย ที่เราบอกว่าเป็นประเทศที่มีความน่าอยู่ ปัญหาอย่างหนึ่งของไทยคือ หน่วยธุรกิจของประเทศจำนวนมาก ยังติดกับการใช้รูปแบบการผลิตแบบเดิม ที่ยังเน้นการใช้แรงงานเป็นหลัก ดังนั้น ต้นทุนจำนวนมากของการผลิตประเทศไทย จะอยู่ที่แรงงาน และค่าขนส่ง วิธีการที่จะทำให้เกิดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจในประเทศไทยง่ายที่สุดคือ การลดราคาแรงงาน ซึ่งเรายังผูกกับ แรงงานขั้นต่ำที่ 300 บาท และพยายามจะไม่ให้ขึ้นมากกว่านี้ และทำไม อิสราเอล และเกาหลี ถึงสามารถจ้างแรงงานไทยได้หล่ะ ทั้งที่ เป็นคนเดียวกัน ความรู้เท่ากัน คำตอบคือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างผลิตภาพการผลิต

ประเทศไทยเราขาดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต การจัดการ และการใช้เทคโนโลยีในการลดต้นทุนแรงงานต่อหน่วยการผลิต จริงๆ คือการเพิ่มจำนวนการผลิตต่อแรงงานเท่าเดิม

การแจกเงิน 500,000 ล้านบาท จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าเศรษฐกิจเท่าไหร่ คำตอบคือน่าจะไม่เยอะ เพราะปริมาณเงินในประเทศ เกินกว่า GDP ไปแล้ว นั่นแสดงว่า มีปริมาณเงินล้นประเทศ การเพิ่มจำนวนเงินเข้ามาในระบบเศรษฐกิจอีก ก็จะไม่ช่วยอะไรในการกระตุ้นเศรษฐกิจเท่าไหร่นัก เนื่องจากตัวทวี หรือจำนวนรอบของเงิน อาจจะหมุนไม่ถึง 2 รอบ ปัญหาจริงๆ ของไทย อยู่ที่ การกระจายรายได้มากกว่า เพราะธุรกิจขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยี และมีแหล่งเงินในการใช้พัฒนาขีดความสามารถตลอดเวลา อีกทั้ง เมื่อมีขนาดใหญ่แล้ว ยังมีการประหยัดต่อขนาดใหนารผลิต

ในทางกลับกัน ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือ SME มีเงินทุนจำกัด จึงต้องใช้แรงงานเข้ามาทดแทนการใช้เครื่องจักรในการผลิต ในขณะที่แรงกดดันของโลกอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะทุนใหญ่จากต่างประเทศที่มีวิธีการผลิตขั้นสูง เช่น จากทางจีน มีเครื่องจักร และสามารถผลิตเครื่องจักรเองได้ ทำให้เป็นเจ้าของเทคโนโลยีทางด้านอตสาหการต่างๆ หรือ ในหลายประเทศ มีเทคโนโลยีทางด้านดิจิตัล สามารถผลิตระบบการประมวลผลขั้นสูงต่างๆ อย่างพวก AI ได้ มีเงินพร้อมลงทุนกับ Start Up เพื่อเก็บเกี่ยวโอกาสที่มองไม่เห็นต่างๆ

ตัดกลับมาที่ประเทศไทย อะไรทำให้ประเทศไทยติดกับดักรายได้ปานกลางนานมาเกินกว่า 20 ปี เรียกว่ารายได้แทบจะไม่ขึ้นเลย แต่เงินเฟ้อขึ้นไปแบบเงียบๆ นิ่มๆ อย่างน่ากลัว ก็เพราะเรายังขนาดเทคโนโลยีต้นน้ำจริงๆ เราไม่สามารถผลิตเครื่องจักรเองได้เลย อย่างรถยนต์ เราเป็นแหล่งผลิตรถที่ใหญ่มากของโลก แต่ เราไม่มียี่ห้อรถของตัวเอง เรามีรถที่ผลิตได่หลากหลายรุ่น แต่เราไม่มีเครื่องจักรผลิตรถที่สร้างเองได้ เราสามารถดัดแปลงรถยนต์ได้ แต่เราไม่สามารถสร้างเครื่องมือดัดแปลงได้

ในด้านเทคโนโลยีดิจิตัล ประเทศไทยยังไม่มีบริษัทที่สร้างแอพ หรือแพลตฟอร์ม แล้วไปขายอยู่ในต่างประเทศ มีแต่แอพที่ใช้เองในประเทศ SME ของเราก็ยังใช้ระบบเดิมในการผลิตและการบริหาร แม้ว่าสินค้าเราจะมีคุณภาพ แต่ก็เป็นสินค้าอุปโภคบริโภคที่ราคาไม่แพง มันช่างดูย้อนแย้งกันที่สุด

เงิน 500,000 ล้านบาท ทำอะไรได้บ้าง

เงินจำนวนนี้ ถึงส่าเป็นเงินขนาดมหึมา ถ้านำมาใส่ในการพัฒนาคน พัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการ การผลิต และการขนส่งให้กับธุรกิจขนาดกลาง เพื่อให้เกิดผลิตภาพที่สูงขึ้น เน้นว่า ผลิตภาพที่เป็นผลิตภาพต่อแรงงาน เพื่อให้สัดส่วนของค่าแรงลดลง ตัวอย่างง่ายๆ การทำถนน ทุกวันนี้ เรายังใช้แรงงานคนในการผูกเหล็กเพื่อสร้างถนนอยู่เลย และหากต้องการสร้างถนนยาว 500 กิโลเมตร จะต้องใช้แรงงานเท่าไหร่ หรือ การซ่อมถนน ที่ต้องใช้คนเข้ามาจัดการจำนวนมาก ทำให้เวลาในการทำงานต้องเพิ่มขึ้น นานขึ้น ต้นทุนสูงขึ้น แรงงานัยงไม่สามารถใช้เครื่องมือทันสมัยในการก่อสร้างได้ ซึ่งนั้นคือปัญหา

เงินเหล่านี้ เอามาสร้างคุณภาพแรงงานที่สามารถใช้เครื่องมือต่างๆ เอามาให้ SME กู้เพื่อเปลี่ยนแปลงวิธีการผลิต เอามาฝึกอบรมให้เกิดการใช้ IT และ Digital ได้มากมาย และยังสามารถเอามาใช้ในการพัฒนาระบบการแพทย์ เพื่อให้แพทย์ทำงานได้ดีขึ้น ครอบคลุมคนได้มากขึ้น และให้ทำงานน้อยลง มีสวัสดิการกับคนทำงานทั้งประเทศในราคาที่ถูกลง

 

500,000 ล้านยังทำอะไรได้อีก

เอามาพัฒนาบริษัทการเกษตรไฮเทคต้นแบบ เรียบแบบอิสราเอล แล้วนำกำไรที่ได้จากบริษัทเหล่านี้ ไปต่อยอดการลงทุนให้เกิดการการตั้งบริษัทใหม่ๆ เพื่อเรียกร้องให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตร ให้เกิดความมั่นคงทางอาหารของประเทศ เนื่องขากทุกวนนี้ การทำนาของประเทศไทย ยังคงเหมือนเดิมเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ต่างแต่เพียง มีเครื่องจักรเบา และสารเคมีที่เพิ่มขึ้น การเกษตรยังไม่เคยใช้ Digital Tech มาใช้งานเลย รวมถึงการสร้างระบบ อุปทานสาระสนเทศ เรียกง่ายๆ ว่า การทำฐานของมูลดิจิตัล เพื่อให้รู้ว่า ทุกตารางเมตรในการเกษตรปลูกอะไร ผลิตอะไร จะออกมาเท่าไรไหร่ ราคาจะเป็นอย่างไร ซึ่งมันสามารถพยากรณ์ได้หมด กลายเป็น Big Data

ทั้งหมดนี้ ได้แต่ภาวนา ให้เงิน 500,000 ล้าน เกิดประโยชน์กับชาติ และไม่เอาไปละเลงหายไปกับสายลมและกาลเวลา

ดร.นารา กิตติเมธีกุล

SHARE THIS